ประเพณีรำพาข้าวสาร ท่องเที่ยวไทย จังหวัดปทุมธานี

ประเพณีรำพาข้าวสาร  ท่องเที่ยวไทย จังหวัดปทุมธานี
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
เดอะพาร์คไดร์ฟทรู
The Park Resort ตั้งอยู่ รังสิต คลอง 1 (ใกล้ตลาดน้ำรังสิต)เป็นรีสอร์ท Drive-Thru ...
อิงนทีรีสอร์ท
หากคุณกำลังมองหาโรงแรมที่เดินทางไปได้ง่ายใน ปทุมธานี ไม่ต้องมองหาที่อื่นนอกจาก อ ...
ปันนาราบูติค
เชิญเข้าพักที่ พรรณนารา บูติคเฮาส์ เพื่อสำรวจความน่าตื่นตาตื่นใจของ กรุงเทพ โรงแ ...
เจปาร์ค
หากคุณกำลังมองหาโรงแรมที่เดินทางไปได้ง่ายใน ปทุมธานี ไม่ต้องมองหาที่อื่นนอกจาก เ ...
มาเจสติกวิว
ในย่านการเที่ยวชมทิวทัศน์ของ ปทุมธานี โรงแรมมาเจสติก วิว เป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดใ ...
ดรีมเวิลด์
สวนสนุกดรีมเวิลด์ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เป็นสวนสนุกและสถานที่พักผ่อนที่รวบรวม ...
หออัครศิลปิน
หออัครศิลปิน ปทุมธานี อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่น่ามาเยือนแห่งหนึ่งของจังหวัดป ...
ตลาดน้ำคลองสาม
ตลาดน้ำคลองสาม นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวล่าสุดที่ได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเ ...
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเร ...
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ เป็นหอจดหมายเหตุแห่งชาติที่สมบูรณ์แบบที่สุด ...
Rating : 8/10
10348
ช่วงเวลา :
ตุลาคม 2555 - ตุลาคม 2555
 ประเพณีรำพาข้าวสาร
 ประเพณีรำพาข้าวสาร
 ประเพณีรำพาข้าวสาร
 ประเพณีรำพาข้าวสาร
 ประเพณีรำพาข้าวสาร
 ประเพณีรำพาข้าวสาร
 ประเพณีรำพาข้าวสาร
ประเพณีรำพาข้าวสาร จังหวัดปทุมธานี

ประเพณีรำพาข้าวสารจะเริ่มทำกันเมื่อออกพรรษาแล้ว คือ ถ้าวัดใดยังไม่มีคนจองกฐินหรือยังไม่ได้ทอดกฐิน ชาวบ้านก็จะช่วยกันจัดกฐินไปทอด จึงต้องออกเรี่ยไรบอกบุญไปยังชาวบ้านเป็นการร้องเพลงเชิญชวนไปทำบุญ

ประเพณีรำพาข้าวสาร ปทุมธานี

ประวัติความเป็นมา รำพาข้าวสาร เป็นประเพณีของชาวปทุมธานีที่มีมาตั้งแต่สมัยตันรัชกาลที่ 3 คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทำกันมาทุกปี จุดเริ่มต้นเกิดที่วัดแจ้ง ตำบลสามโคก จังหวัดปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า เจ้าน้อยระนาดธิดาเจ้าสัวสุ่นได้ลงเรือหนีทัพพม่ามากับพวกตามลำน้ำเจ้าพระยาในเวลากลางคืน จนมาสว่างที่อำเภอสามโคก ตรงกับวัดแจ้งเวลานี้ และได้พักผ่อนที่นั่น กล่าวกันว่า ได้เจอดินกลายเป็นทองตรงวัดแจ้ง จึงตั้งใจว่าเมื่อตั้งหลักฐานมั่นคงแล้วจะมาสร้างวัดที่นี่ ต่อมาเจ้าน้อยระนาด (ตีระนาดเก่งมาก) ได้เป็นเจ้าจอมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และมีพระราชโอรสซึ่งเกิดในเจ้าจอมมารดาน้อยระนาดคือ พระองค์เจ้าชายกลาง ต่อมาในรัชกาลที่ 4 พระองค์กลางได้ทรงกรมเป็นที่กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ และในรัชกาลที่ 5 ได้เลื่อนเป็นกรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ และสิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 73 พรรษา ทรงเป็นต้นสกุลวัชรีวงศ์ เข้าใจว่าสกุลนี้จะมาสร้างวัดแจ้ง

กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ มีโอรส คือ พระวรวงศ์เจ้าวัชริวงศ์ (พระองค์เจ้าขาว) ได้มาบูรณะวัดแจ้งทุกปี และพระองค์เป็นผู้ริเริ่มให้มีการรำพาข้าวสารขึ้น เพื่อนำไปถวายพระให้เป็นทุนในการปฏิสังขรณ์วัดต่อไป การที่พระองค์เป็นผู้ริเริ่มขึ้น ฉะนั้นในการร้องเพลงรำพาข้าวสารจึงเริ่มต้นด้วยชื่อ ของท่านซึ่งเป็นการแสดงความคารวะต่อพระองค์ท่าน โดยขึ้นต้นเพลงว่า “เจ้าขาวลาวละลอกเอย…” เป็นต้น ประเพณีการรำพาข้าวสารนี้ ชาวนนทบุรีก็นำไปใช้ด้วยเช่นกัน แต่จะเรียกว่า “รำพาข้าวสารพระองค์เจ้าขาว…”

ปัจจุบันประเพณีรำพาข้าวสารของชาวจังหวัดปทุมธานีได้เลิกมาประมาณ 30 กว่าปีแล้วเนื่องมาจากมีพวกมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นคณะรำพาข้าวสารปล้นจี้ชาวบ้าน ทำให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวายเมื่อชาวบ้านได้ยินเพลงรำพาข้าวสารต่างก็กลัวจนขวัญหนีดีฝ่อ ไม่กล้าออกมาทำบุญ

ทางจังหวัดปทุมธานีได้เตรียมวางโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีเก่าๆ ขึ้นมาใหม่ทั้งนี้เพื่อให้ประเพณีที่ดีงามและมีคุณค่าเหล่านั้นได้คงอยู่ต่อไปเป็นสมบัติของชาติ

กำหนดงาน ประเพณีรำพาข้าวสารจะเริ่มทำกันเมื่อออกพรรษาแล้ว คือ ถ้าวัดใดยังไม่มีคนจองกฐินหรือยังไม่ได้ทอดกฐิน ชาวบ้านก็จะช่วยกันจัดกฐินไปทอด จึงต้องออกเรี่ยไรบอกบุญไปยังชาวบ้านเป็นการร้องเพลงเชิญชวนไปทำบุญ

กิจกรรมและพิธี วิธีรำพาข้าวสารมีดังนี้ คือ คณะรำพาข้าวสารจะประกอบไปด้วยบุคคลทั้งหญิง และชายมีทั้งคนแก่หรือคนหนุ่มสาว ประมาณ 20-30 คน ลงเรือที่เตรียมไว้ในตอนค่ำ ภายในเรือมีกระบุงหรือกระสอบใส่ข้าวสาร มีคนแก่คนหนึ่งนุ่งขาวห่มขาวนั่งกลางลำเรือเป็นประธาน โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ส่วนคนอื่นๆ ช่วยกันพายเรือ และแต่งกายตามสบาย หรือแล้วแต่จะตกลงกัน ทุกคนนั่งริมกราบเรือเพื่อช่วยกันพายเรือ และมีคนคัดท้ายที่เรียกว่า “ถือท้ายเรือ” หนึ่งคน จะพายพร้อมๆ กัน เหมือนกับแข่งเรือ โดยพายไปตามบ้านที่เรือจอดถึงหัวบันไดบ้านได้

เมื่อเรือจอดที่หัวบันไดบ้านแล้ว ก็จะร้องเพลงโดยมีต้นเสียงหรือแม่เพลงขึ้นนำว่า “เจ้าขาวลาวละลอกเอย มาหอมดอก ดอกเอ๋ยลำใย แม่เจ้าประคุณพี่เอาส่วนบุญมาให้ “ จากนั้นทุกคนก็จะร้องรับพร้อมๆกันว่า “เอ่ เอ เอ้ หลา เอ่ หล่า ขาว เอย” แล้วก็ร้องไปเรื่อยๆ เป็นทำนองเชิญชวนให้ทำบุญร่วมกัน ร้องไปเรื่อยจะเป็นดอกอะไรก็ได้จนกว่าเจ้าของบ้านจะตื่น เมื่อเจ้าของบ้านได้ยินเสียงเพลง ก็จะรู้ทันทีว่ามาเรี่ยไรข้าวสารเพื่อจะนำไปทอดกฐิน โดยเอาขันตักข้าวสารลงมาให้ที่เรือแล้วยกมือไหว้เป็นการอนุโมทนาด้วย โดยร้องว่า “ทำบุญกับพี่แล้วเอย ขอให้ทรามเชยมีความสุข นึกถึงเงินให้เงินมากอง นึกถึงทองให้ ทองไหลมา เอ่ เอ เอ้ หล่า เอ่ หล่า ขาว เอย” เมื่อร้องเพลงให้พรเสร็จแล้วก็พายเรือไปบ้านอื่นต่อไป

การรำพาข้าวสารจะเริ่มตั้งแต่ 19.00 น. ไปจนถึงเที่ยงคืนจึงเลิกแล้วพากันกลับบ้านและในคืนต่อไปคณะรำพาข้าวสารก็จะพายเรือไปขอรับบริจาคที่ตำบลอื่นต่อไป จนกระทั่งเห็นว่าข้าวของที่ได้มาพอที่จะทอดกฐินแล้วจึงยุติการรำพาข้าวสาร

ข้อความ *

รูป
นามสกุล .jpg, .gif, .png ขนาด์ไม่เกิน 100 KB, กว้างไม่เกิน 600 pixel
ชื่อที่ใช้แสดง *
Email
แจ้งทาง Email เมื่อมีคนมา comment (Email จะถูกเก็บเป็นความลับ)
ส่งข้อความ ยกเลิก
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ HotelDirect.in.th ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ info@HotelDirect.in.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้
Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.