เที่ยวพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ที่พักพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน สถานที่ท่องเที่ยวพระราชนิเวศน์มฤคทายวันแผนที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

เที่ยวพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ที่พักพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน สถานที่ท่องเที่ยวพระราชนิเวศน์มฤคทายวันแผนที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
ซานโตรินี พาร์ค ชะอำ
Santorini Park Cha-Am ที่เที่ยว ที่ช้อป ที่ชิม แห่งใหม่ที่หัวหิน-ชะอำ สามารถตอบส ...
หาดชะอำ
หาดชะอำถือว่าเป็นหาดที่มีนักท่องเที่ยวให้ความนิยมไปเที่ยวกันเป็นจำนวนมากในช่วงวั ...
Rating : 9/10
8035
โทรศัพท์ :
0 3250 8443-4
เว็บ :
mrigadayavan.org/
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล และได้รับขนานนามว่า "พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง" เป็นพระตำหนักแบบไทยผสมยุโรป เป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง สร้างด้วยไม้สักทอง

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ หาดชะอำ เพชรบุรี

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายพระรามหก ตำบลห้วยทรายเหนือ ตรงหลักกิโลเมตรที่ 216 เลยหาดชะอำมา 8 กิโลเมตร เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2466 ได้รับขนานนามว่า "พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง" ลักษณะเป็นพระตำหนักแบบไทยผสมยุโรป เป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง สร้างด้วยไม้สักทอง

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นพระราชวังสร้างในสมัยร.6 โดยเป็นพระตำหนักประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพอพระราชหฤทัยที่สถานที่ที่ ตำบลบางควายจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งให้กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการก่อสร้างพระราชนิเวศน์ใหญ่ใน พ.ศ. 2466 โดยที่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างและพระองค์ได้ทรงร่างแผนผัง การก่อสร้างพระราชนิเวศน์ด้วยพระองค์เอง

โดยพระองค์ได้ทรงเพิ่มพระตำหนักฝ่ายใน ทรงเลือกแบบพระราชนิเวศน์เป็นอาคารแบบไม้ชั้นเดียว หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องสี่เหลี่ยม ใต้ถุนสูง เทพื้นคอนกรีตตลอด โดยที่พระตำหนักต่างๆ ได้แบ่งกระจายกันอยู่เป็นหลังๆ มีรูปทรงแบบเดียวกันหมด แต่ทุกหลังจะมีระเบียงและบันได ส่วนทางเดินจะมีลูกกรงและหลังคาเชื่อมติดต่อถึงกันตลอดเพื่อความสะดวกและรวด เร็วในการเดินติดต่อกันระหว่างพระตำหนักต่างๆ ได้จัดวางห้องบรรทมอยู่กลางติดกับห้องแต่งพระองค์ มีห้องเสวยด้านหลัง มีสะพานทอดออกไปทางด้านขวามือเป็นส่วนของฝ่ายใน ด้านหน้ามีสะพานทอดยาวไปเป็นห้องทรงพระอักษรใกล้ชายหาด

ประวัติ
ชื่อและความหมาย “มฤค” อ่านว่า มะ-รึก แปลว่า เนื้อทราย, กวาง “มฤคทายวัน” อ่านว่า มะ-รึก-คะ-ทาย-ยะ-วัน หรือ มะ-รึก-คะ-ทา-ยะ-วัน หมายถึงป่าที่ให้อภัยแก่สัตว์ ตรงกับชื่อป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา

พระราชนิเวศน์ เมื่อก่อสร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวันใกล้เสร็จอย่างสมบูรณ์ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการก่อสร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวันได้มีการตรวจการปลูกสร้างพระราช นิเวศน์มฤคทายวันเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรับเสด็จ ในการแปรพระราชฐานในฤดูร้อน พ.ศ. 2467

เมื่อการก่อสร้างพระราชนิเวศน์เสร็จได้พระราชทานนามพระราชนิเวศน์แห่งนี้ว่า พระราชนิเวศน์มฤคทายวันพระ บาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแปรพระราชฐานประทับพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในช่วงฤดูร้อน พ.ศ. 2467 เป็นครั้งแรก (วันที่ 22 เมษายน-13 กรกฎาคม) และเสด็จประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถในฤดูร้อน พ.ศ. 2467 เป็นครั้งที่ 2 (วันที่ 12 เมษายน-20 มิถุนายน) ในการเสด็จครั้งนี้พระองค์ทรงงานตลอดเวลา

หลังจากสร้างเสร็จแล้วทางกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้หลวงสมบูรณ์บุรินทร์เป็น หัวหน้าพนักงานรักษาที่พักมฤคทายวัน ต่อมาใน พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองบัญชา การตำรวจตะเวนชายแดนใช้เป็นที่ตั้งศูนย์ฝึกการต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่ สงบ คือกองกำกับการที่ 1 กองบังคับพิเศษ ในพ.ศ. 2523 หน่วยราชการนี้ได้นามพระราชทานว่า "ค่ายพระรามหก"

นอกจากนี้ได้จัดตั้งมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีได้ ทรง พระกรุณาโปรดรับไว้ในพระอุปถัมภ์ ปัจจุบันนี้ทางมูลนิธิและค่ายพระรามหก ยังได้เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมพระราชนิเวศน์ความสวยงามของพระราชวังแห่งนี้ด้วย

ดังนั้นพระราชนิเวศน์มฤคทายวันถือได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามแห่งหนึ่ง และยังเป็นสถานที่น่าสนใจให้ความรู้ แก่คนรุ่นหลังสืบต่อไป

พระราชนิเวศน์ ซึ่งประกอบด้วยพระที่นั่งใหญ่ 3 องค์ มีนามเรียงกันจากชั้นในสุดมาจนถึงประตูพะราชนิเวศน์ด้านหน้า ดังนี้

1.พระที่นั่งสมุทรพิมาน มีสองหมู่ คือหมู่เดิมด้านในและหมู่ใหม่ด้านหน้า เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาคารหลังใหญ่สุดทรงใช้เป็นห้องบรรทม

ห้องแต่งพระองค์ ห้องทรงพระอักษร และห้องสรง ส่วนห้องเสวยเป็นศาลารูปสีเหลี่ยม มีลูกกรงรอบไม่กั้นฝา ในส่วนพระที่นั่งสมุทรพิมานหมู่เดิมเคยเป็นประทับของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ระหว่างมีพระครรภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

2.พระที่นั่งพิศาลสาคร เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา และที่พำนักของ พระสุจริตสุดา พระสนมเอก นอกจากพระที่นั่งแล้วยังมีเรือนเล็กๆ เป็นที่อยู่ของข้าราชการฝ่ายใน

3.พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ เป็นอาคารสองชั้น มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเปิดโล่ง ทั้งชั้นล่างและชั้นบนทรงใช้เป็นโรงละครและที่ชุมนุมในโอกาสต่างๆ

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันพุธ ค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างประเทศ - ผู้ใหญ่ 30 บาท - เด็ก 15 บาท

นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังมีจุดที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกได้แก่ ได้แก่ บ้านพักข้าราชบริพาร อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บ้านเจ้าพระยารามราฆพ

สิ่งอำนวยความสะดวก
- ลานจอดรถ
- ร้านอาหาร
- ร้านขายของที่ระลึก
- รถเข็นสำหรับผู้พิการ
- จักรยานให้เช่า

หมายเหตุ : ผู้เข้าชมพระตำหนักต้องแต่งกายสุภาพ ผู้ที่ใส่กางเกงขาสั้นมีบริการผ้านุ่งให้สวมใส่

Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.