ประเพณีบูชาเสาอินทขิล ท่องเที่ยวไทย จังหวัดเชียงใหม่

ประเพณีบูชาเสาอินทขิล  ท่องเที่ยวไทย จังหวัดเชียงใหม่
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
กรีนเลค รีสอร์ท
กรีนเลค รีสอร์ท ตั้งอยู่ริมทะเลสาบที่งดงามดั่งมรกตล้ำค่าแห่งเมืองเชียงใหม่ จากรี ...
แมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี
แมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี ตั้งอยู่ท่ามกลางทัศนียภาพธรรมชาติอันหรูหราในพื้นที ...
เดอะ เชดี เชียงใหม่
เดอะ เจดีย์ เชียงใหม่ เป็นโรงแรมคุณภาพระดับ 5 ดาว เป็นหนึ่งในโรงแรมที่มีทำเลดีที ...
บุรี แกลเลอรี่ เฮ้าส์
บุรี แกลเลอรี่ เฮ้าส์ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ เป็นโรงแรมที่ให้ความรู้สึกหรู ...
ชีวี วนา บูติค รีสอร์ท แอนด์ สปา
ชีวี วนา บูติค รีสอร์ทแอนด์สปา เป็นบูติครีสอร์ท 18 ห้องในจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่ ...
วัดพระสิงห์วรวิหาร
วัดพระสิงห์ เป็นวัดที่มีนักท่องเที่ยวรู้จักคุ้นชื่อกันดี พญาผายู กษัตริย์เชียงให ...
เวียงกุมกาม
เวียงกุมกามเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ยอดนิยมอีกแห่งหนึ่ง เมื่อกว่า 700 ปีก่อน พญาม ...
น้ำตกแม่สา
น้ำตกแม่สาเป็นที่เที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติดอยสุเ ...
วัดเจดีย์หลวง
วัดเจดีย์หลวง เป็นวัดที่มีเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ ก็คือ วัดเจดีย์ห ...
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ มีพื้ ...
Rating : 9.5/10
9447
ช่วงเวลา :
พฤษภาคม 2555 - พฤษภาคม 2555
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
 ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
ประเพณีบูชาเสาอินทขิล จังหวัดเชียงใหม่

ประเพณีเข้าอินทขิล คือ การทำพิธีสักการบูชาเสาหลักเมืองเสาอินทขิล นอกจากจะเป็นเสาหลักเมืองแล้ว ยังนับได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่

ร่วมสักการะ ประเพณีบูชาเสาอินทขิล จังหวัดเชียงใหม่

ประเพณีเข้าอินทขิล คือ การทำพิธีสักการบูชาเสาหลักเมืองเสาอินทขิล นอกจากจะเป็นเสาหลักเมืองแล้ว ยังนับได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่และยังเป็นที่สักการบูชา ถือว่าเป็นที่รวมของวิญญาณของคนเมืองเหนือและบรรพบุรุษ จึงถูกยกย่องเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง

ข้อมูลประเพณีเข้าอินทขิล

เสาอินทขิล ซึ่งเป็นหลักเมืองของนครเชียงใหม่นี้ตั้งอยู่ภายในวัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัดนี้เป็นวัดที่ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา ซึ่งเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์มังราย สร้างอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่

ชาวเชียงใหม่มีความเชื่อว่า เมื่อสักการบูชาเสาอินทขิลแล้ว บ้านเมืองจะพ้นภัยพิบัติและมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น จึงเป็นประเพณีสักการบูชามาตราบกระทั่งทุกวันนี้

สำหรับกำหนดงานพิธีบูชาเสาอินทขิลนี้ จะมีในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปี ในวันประกอบพิธี พวกชาวบ้านชาวเมืองทั้งหนุ่มสาว คนเฒ่าคนแก่ และเด็ก ๆ จะเตรียมดอกไม้ธูปเทียน ขันน้ำขมิ้นส้มป่อย ใส่พานหรือภาชนะใส่ของที่เรียกว่า "สลุง" เอาน้ำขมิ้นส้มป่อยใส่พานหรือสลุงไป "ทำการสระสรง" (สรงน้ำ) สักการบูชา ที่วัดเจดีย์หลวง

ในระหว่างการ "บูชาเสาอินทขิล" ชาวบ้านจะจัดให้มี ซอพื้นเมืองและมีช่างฟ้อนประเภท ฟ้อนหอก ฟ้อนดาบ เพื่อเป็นการสังเวยเทพยดาอารักษ์ "ผีเสื้อบ้าน" และ "ผีเสื้อเมือง" หรือที่ภาษาทางเหนือโบราณ เรียกกันว่า "เจนบ้านเจนเมือง"

การใส่ขันดอกไม้บูชาเสาอินทขิลนี้มีถึง 28 พานใหญ่ นับว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ และยังมีขันดอกไม้บูชาท้าวทั้งสี่ คือ ท้าวจตุโลกบาลอีก 1 ที่ บูชารอบ ๆ เสาอินทขิล 8 แห่ง บูชาพระฤาษี 1 แห่ง บูชาตาปะขาวลั้วะ 1 แห่ง บูชาต้นไม้ยาง 1 แห่ง กุมภัณฑ์ 2 ตน ตนละแห่ง บูชาพระสังกัจจาย 2 แห่ง บูชาพระธาตุเจดีย์หลวง 1 แห่ง เสร็จจากใส่บาตรดอกไม้และบูชาดังกล่าวแล้ว ก็ไปสรงน้ำพระพุทธรูปฝนแสนห่า เพื่อขอบันดาลให้ฝนตกตลอดฤดู และบูชาพระอัฎฐารสภายในพระวิหารเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตนและครอบครัว

เป็นประเพณีบูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีชื่อว่าเสาอินทขิล เสาหลักเมืองเดิมมีมาตั้งแต่เมื่อครั้งสร้างเมืองเชียงใหม่ และประดิษฐานที่วัดสะดือเมือง

เสาหลักเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีชื่อว่าเสาอินทขิล เสานี้ก่อด้วยอิฐถือปูน แต่เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมือง (วัดอินทขิล) ซึ่งเป็นที่ตั้งหอประชุมติโลกราชข้างศาลากลางหลังเก่า ต่อมาได้เสื่อมสภาพไป พระยากาวิละซึ่งได้ฟื้นฟูประเพณีอินทขิลขึ้นใหม่ จึงได้สร้างและย้ายเสาอินทขิลมาประดิษฐานไว้ ณ ไว้ที่วัดเจดีย์หลวงจนถึงปัจจุบันนี้ ชาวเชียงใหม่ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอย่างหนึ่ง

ภายในงานนอกจากจะมีการบูชาเสาอินทขิลแล้ว ในบริเวณงานยังมีการ ขายของของกลุ่มบ้าน หรือ OTOP และของกินอยู่บริเวณโดยรอบวัด

กำหนดการจัดงานประเพณีเข้าอินทขิล แรม 3 ค่ำเดือน 8 ถึง ขึ้น 4 ค่ำเดือน 9 (เหนือ) หรือ แรม 12 ค่ำ เดือน 6 ถึง ขึ้น 3 ค่ำเดือน 7 (ไทย) ของทุกปี

ข้อความ *

รูป
นามสกุล .jpg, .gif, .png ขนาด์ไม่เกิน 100 KB, กว้างไม่เกิน 600 pixel
ชื่อที่ใช้แสดง *
Email
แจ้งทาง Email เมื่อมีคนมา comment (Email จะถูกเก็บเป็นความลับ)
ส่งข้อความ ยกเลิก
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ HotelDirect.in.th ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ info@HotelDirect.in.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้
Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.