งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ท่องเที่ยวไทย จังหวัดเพชรบูรณ์

งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ  ท่องเที่ยวไทย จังหวัดเพชรบูรณ์
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
ค้อคีริน รีสอร์ท
ค้อคีริน รีสอร์ท บนเนินเขา สูงกว่าระดับน้ำทะเล 750 เมตร มีจุดชมวิวทะเลหมอก กว้าง ...
ภูลู่ลม รีสอร์ท
ภูลู่ลม รีสอร์ท วิวทิวทัศน์เปรียบได้กับสวิตเซอร์แลนเมืองไทย ผสมผสานธรรมชาติได้อย ...
เขาค้อ ไฮแลนด์ ซิตี้
เขาค้อ ไฮแลนด์ จ.เพชรบูรณ์ ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 800 เมตร บนถนนหมายเลขที่ 12 ...
อิมพีเรียล ภูแก้ว ฮิลล์ รีสอร์ท
อิมพีเรียล เขาค้อ รีสอร์ท ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของภูเขาในจังหว ...
เขาค้อ วิวสวยรีสอร์ท
เขาค้อ วิวสวยรีสอร์ท สถานที่ที่รายล้อมไปด้วยวิวที่สวยสดงดงาม เป็นรีสอร์ทเชิงอนุร ...
อุทยานแห่งชาติตาดหมอก
อุทยานแห่งชาติตาดหมอกเป็นอีกหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกั ...
เนินมหัศจรรย์
เนินมหัศจรรย์เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่คุณน่าจะได้ลองไปสักครั้ง มีลักษณะเป ...
สวนสัตว์เปิดเขาค้อ
สวนสัตว์เปิดเขาค้อเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่คุณน่าจะได้ลองไปสักครั้ง เป็นโ ...
หอสมุดนานาชาติเขาค้อ
หอสมุดนานาชาติเขาค้อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เป็นหอสมุดขนาดใหญ่ ออกแบบอย่ ...
พิพิธภัณฑ์อาวุธ (ฐานอิทธิ)
พิพิธภัณฑ์อาวุธเป็นอีกหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนไปเที่ยว ...
Rating : 10/10
14391
ช่วงเวลา :
ตุลาคม ของทุกปี
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
 งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จังหวัดเพชรบูรณ์

เป็นงานประเพณีเก่าแก่ของ ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่สืบทอดกันมายาวนานชั่วอายุคน เป็นประเพณีที่แปลกไม่มีปรากฎในที่อื่น ๆ ในวันสารทไทยของทุกปี ชาวเพชรบูรณ์จะเดินทาง ไปร่วมพิธีกันอย่างคับคั่ง

ประเพณีที่สำคัญจังหวัดเพชรบูรณ์ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ เป็นงานประเพณีเก่าแก่ของ ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่สืบทอดกันมายาวนานชั่วอายุคน เป็นประเพณีที่แปลกไม่มีปรากฎในที่อื่น ๆ ในวันสารทไทยของทุกปี ชาวเพชรบูรณ์จะเดินทาง ไปร่วมพิธีกันอย่างคับคั่ง ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ เมื่อก่อนมีการ เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น อุ้มพระดำน้ำ อุ้มพระสรงน้ำ บางคนก็เรียกว่างานประเพณีสารทไทย วัดไตรภูมิ หรือ ประเพณีอัญเชิญ พระพุทธรูปสรงน้ำก็มี จนกระทั่งเดือนตุลาคม 2528 ทางคณะกรรมการได้ร่วม ประชุมกันอย่างกว้างขวาง เพื่อหารือเกี่ยวกับ การจัดงานเป็นทางการ และมีมติให้ใช้ชื่องานว่า งานประเพณี “อุ้มพระดำน้ำ”

งานประเพณีดังกล่าวนี้ ทุกปีจะจัดที่บริเวณวัดไตรภูมิ ถนนเพชรรัตน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ พระพุทธรูปองค์นี้ ที่อัญเชิญไปดำน้ำ มีนามว่า พระพุทธมหา ธรรมราชา เป็นพระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ ปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี หล่อด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์ หน้าตัก กว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน พุทธลักษณะ เป็นทรงเทริด พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน พระกรรณยาวย้อย จนจรดพระอังสา ที่พระเศียร ทรงเครื่องชฎาเทริด มีกระบังหน้า ทรงสร้อยพระศอ พาหุรัดและประคตเป็นลวดลายงดงามยิ่ง

ตามประวัติเล่าสืบกันต่อมาหลายชั่วอายุคนแล้ว เมื่อประมาณ 400 ปีที่ผ่านมา มีชาวเพชรบูรณ์ กลุ่มหนึ่งมีอาชีพ ในการจับสัตว์น้ำ อยู่ในลำน้ำป่าสัก อยู่มาวันหนึ่งชาวประมงกลุ่มนี้ได้ออกหาปลาตามปกติ เช่นทุกวัน เผอิญวันนั้นเกิดเหตุการณ์ประหลาดตั้งแต่เช้าถึงบ่าย ไม่มีใครจับปลา ได้เลยสักตัวคล้ายดังกับว่าใต้พื้นน้ำ ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย สร้างความงุนงงแก่พวกเขาเป็นอย่างมาก ต่างพากันนั่ง ปรึกษาว่าจะทำประการใดดี

บริเวณที่ชายเหล่านั้นนั่งปรึกษากันอยู่นั้น ปัจจุบันคือ บริเวณ วังมะขาม แฟบ คำว่า มะขามแฟบ นั้น หมายถึง ไม้ระกำนั่นเอง บริเวณดังกล่าว อยู่ทางทิศเหนือของ เมืองเพชรบูรณ์ ทันใดนั้น กระแสน้ำ ในแม่น้ำแห่งนั้น หยุดไหลนิ่งอยู่กับที่ แล้วค่อย ๆ มีพราย น้ำผุดขึ้นมาที ละฟอง ทวีมากขึ้น มองดูคล้ายกันน้ำกำลังเดือดอยู่บนเตาไฟ ไม่นานก็เปลี่ยนเป็นวังน้ำวนใหญ่และลึกมาก ณ ที่แห่งนั้นทุกคน ต่างมองดูด้วยความมึนงง ไม่สามารถหาคำตอบว่าเกิดขึ้นจากอะไร เหตุการณ์ ดำเนินต่อไป จนกระทั่ง กระแสวังวนแห่งนั้น ได้เริ่มคืนสู่สภาพเดิม และดูดเอา พระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมา จากใต้พื้นน้ำแห่งนั้น ลอยขึ้นมาอยู่ เหนือผิวนั้น มีการดำผุดดำว่ายอยู่ตลอดเวลา เหมือนอาการของ เด็กเล็ก ที่กำลังเล่นน้ำ เป็นที่แน่นอนว่าชาวประมง กลุ่มนั้นได้ประจักษ์ ถึงความ ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้ลงไปอัญเชิญ ขึ้นมาประดิษฐาน บนบกให้ผู้คนทั้งหลาย ได้กราบไหว้สักการะบูชา และพร้อมใจกันอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ วัดไตรภูมิ ในปัจจุบัน

ในปีต่อมา ครั้นถึงเทศกาลสารทไทย พระพุทธรูปที่ถูกอัญเชิญขึ้นมา จากน้ำได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย ชาวบ้านชาวเมือง ก็ออกตามหากันจ้าละหวั่น ในที่สุดก็ไปพบพระพุทธรูปองค์ นี้ตรงบริเวณที่พบครั้งแรกและกำลังดำผุดดำว่ายอยู่พอดี จึงได้อัญเชิญ มาอีกครั้งหนึ่ง

นับตั้งแต่บัดนั้นมา เมื่อถึงเทศกาลสารทไทย คือ ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบของทุกปีภายหลังจาก ถวายภัตตาหารเช้า แด่พระภิกษุสงฆ์แล้ว เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ สมัยนั้นพร้อมด้วยข้าราชการ ตลอดจนประชาชนในเมืองเพชรบูรณ์ จึงร่วมกันอัญเชิญ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ ได้ทำพิธีสรงน้ำ ที่วังมะขามแฟบ ตรงที่พบครั้งแรกเป็นประจำทุกปี หากปีใดน้ำน้อยเข้าไป ไม่ได้ก็อัญเชิญไปสรงน้ำที่วัดโบสถ์ชนะมาร ทางเหนือเมืองเพชรบูรณ์ แล้วถวายนามท่านว่า “พระพุทธมหาธรรมราชา”

ส่วนความเชื่อถือในอีกทางหนึ่งนั้นเชื่อว่า เทพเจ้าผู้สิงสถิตย์ในองค์ พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระภิกษุโบราณ 2 รูป ได้สร้างพระพุทธองค์นี้ ตั้งแต่ครั้งเป็นมนุษย์ ในสมัยลพบุรี ต่อมากรุงสุโขทัยได้แผ่อำนาจขยายอาณาเขต พระพุทธมหาธรรมราชา ได้ถูกเชิญไปประดิษฐานไว้ที่กรุงสุโขทัย จนมาถึงสมัยพระยาลิไทย กษัตริย์องค์ที่ 6 ในราชวงศ์พระร่วง ประจวบกับเพชรบูรณ์ ไว้ว่างกษัตริย์ผู้ครองนคร ได้โปรดให้ ออกญา ศรีเพชรรัตนานัคราภาบาล นามเดิมว่าเรือง ไปเป็นเจ้าครองเมืองเพชรบูรณ์ โดยขึ้นตรงต่อกรุงสุโขทัย พร้อมกันนี้ได้พระราชทานพระพุทธรูป “พระพุทธมหาธรรมราชา” มาด้วย สำหรับพระพระคู่บ้านคู่เมือง โดยมีกระแส รับสั่งให้มาทางลำน้ำ หากแวะที่ใดก็ให้สร้างวัดใหม่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้

สำหรับการเดินทางมาในสมัยก่อน ล่องมาตามลำน้ำยมจากสุโขทัยผ่านพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา แล้ววกเข้าลำน้ำป่าสักที่อยุธยา ผ่านสระบุรี แล้วสู่จุดหมายปลายทางที่เพชรบูรณ์ รวมระยะเวลาการเดินทางหนึ่งปีเต็ม เมื่อแรกมาถึงดำริ จะนำพระพุทธมหาธรรมราชาไปประดิษฐานไว้ที่วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ แต่เป็นการขัดพระบรมราชโองการ จึงสร้างวัดขึ้นมาใหม่ให้ชื่อว่า วัดไตรภูมิ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแก่พระร่วง ซึ่งเป็นผู้พระราชนิพนธ์เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง

ในวันสารทไทยของทุกปี ทางจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้อัญเชิญ พระพุทธมหาธรรมราชา ประดิษฐานบนบุษบก แห่จาก วัดไตรภูมิไปตาม เส้นทางในเขตเทศบาล เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา และอัญเชิญ มาเฉลิมฉลองที่วัดไตรภูมิ ในวันสารทไทย ซึ่งเป็น วันที่สามของงาน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะอัญเชิญ พระพุทธมหา ธรรมราชาประดิษฐาน บนเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดไตรภูมิ ทวน กระแสน้ำ ในแม่น้ำป่าสัก ไปทำพิธีดำน้ำ ที่ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร ซึ่งเป็นวังน้ำลึก เมื่อถึงบริเวณพิธี ผู้ว่าราชการ จังหวัดเพชรบูรณ์ จะอัญเชิญ พระพุทธมหาธรรมราชา เทิดไว้เหนือ หัวดำน้ำลง ไปพร้อมกัน โดยหันหน้าไปทางเหนือสามครั้ง หันหน้าลง ทางใต้สามครั้ง ตามความเชื่อที่ว่า จะทำให้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข

ความเชื่อในการอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาดำน้ำ ผู้ที่ทำการอัญเชิญจะต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ทั้งนี้เพราะ ตำแหน่งเทียบ ได้กับเจ้าเมืองในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นใหญ่ที่สุดในเมือง ความเสียสละของผู้เป็นใหญ่ ในนครที่มีความห่วงใย ในความทุกข์สุข ของราษฎรและได้ชื่อว่า เป็นผู้ทะนุบำรุงพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ จะให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ เจ้าเมืองอัญเชิญไปดำน้ำแทนไม่ได้ หากปีใดไม่มีการอัญเชิญ พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวไปดำน้ำ ชาวเพชรบูรณ์ เชื่อกันว่าปีนั้นบ้านเมือง จะเกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง และพระพุทธรูปองค์นี้จะหายไป

งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์ ประเพณีหนึ่งเดียวในโลก จะเป็นประเพณีที่สืบทอด กันไว้เป็นมรดก ให้ลูกหลานได้ชื่นชม อีกตราบนานเท่านาน

ข้อความ *

รูป
นามสกุล .jpg, .gif, .png ขนาด์ไม่เกิน 100 KB, กว้างไม่เกิน 600 pixel
ชื่อที่ใช้แสดง *
Email
แจ้งทาง Email เมื่อมีคนมา comment (Email จะถูกเก็บเป็นความลับ)
ส่งข้อความ ยกเลิก
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ HotelDirect.in.th ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ info@HotelDirect.in.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้
Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.