เที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ที่พักอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย สถานที่ท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์พิมายแผนที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

เที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ที่พักอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย สถานที่ท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์พิมายแผนที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
กระท่อมหิน นันทภัค
กระท่อมหิน นันทภัค โรงแรม & รีสอร์ท ที่ถูกสร้างขึ้นมาท่ามกลางหุบเขาและเนินทุ่งหญ ...
จอมสุรางค์
โรงแรมจอมสุรางค์ ของเราเป็นโรงแรมชั้นหนึ่ง ตั้งอยู่บริเวณใจกลางนครราชสีมา อยู่ใก ...
โคราช รีสอร์ท
โรงแรมโคราช รีสอร์ท (Korat Resort Hotel) เป็นโรงแรมใกล้สวนสัตว์โคราช ราคาถูก เก ...
เดอะเปียโน รีสอร์ท
The Piano รีสอร์ท รีสอร์ทสไตล์เก๋ๆ แห่งแรกและแห่งเดียวของเมืองไทย ที่ตัวรีสอร์ทเ ...
ดิ ไอยรา โคราช
โรงแรม ดิ ไอยรา (The Iyara Hotel) ศูนย์รวมความพร้อมทั้งด้านธุรกิจและบันเทิง มีบร ...
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งในนครราชสีมา พ ...
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่จะไปกับเพื่อนหรือท่องเที่ยวแบบครอ ...
อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ
อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือเป็นที่เที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง อนุสรณ์สถานนางสาวบุ ...
อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์
อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์เป็นที่เที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่หมู่ที ...
ผลิตภัณฑ์จากกกจันทบูรณ์บ้านปราสาทใต้
ผลิตภัณฑ์จากกกจันทบูรณ์บ้านปราสาทใต้เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่คุณน่าจะได้ล ...
Rating : 10/10
12166
โทรศัพท์ :
(044) 471-568
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา

อุทยานประวัติศาสตร์พิมายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำอย่างยิ่ง ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ "ปราสาทหินพิมาย" แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก

สถานที่สำคัญจังหวัดนครราชสีมา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ "ปราสาทหินพิมาย" แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร

ชื่อ "พิมาย" น่าจะมาจากคำว่า "วิมาย" หรือ "วิมายปุระ" ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนาสถาน

สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้า ไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระเมืองหลวง ของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้

จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

ปราสาทหินพิมายมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจดังนี้

สะพานนาคราช เมื่อเข้าไปเยี่ยมชมปราสาทหินพิมายจะผ่านส่วนนี้เป็นส่วนแรก จะเห็นสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์ ตั้งอยู่ด้านหน้าของซุ้มประตูด้านทิศใต้ของปรางค์ประธานซึ่งเป็นส่วนหน้าของ ปราสาท ทั้งนี้อาจมีจุดมุ่งหมายในการสร้างให้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเชื่อมต่อ ระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ ตามคติความเชื่อในเรื่องจักรวาลทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ มีลักษณะเป็นรูปกากบาท ยกพื้นขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวพญานาค ชูคอแผ่พังพานเป็นนาคเจ็ดเศียร มีลำตัวติดกันเป็นแผ่น หันหน้าออกไปยังเชิงบันไดทั้งสี่ทิศ

ซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกของปราสาท ถัดจากสะพานนาคราชเข้ามาเป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกว่า โคปุระ ของกำแพงปราสาทด้านทิศใต้ ก่อด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาทและมีซุ้มประตูลักษณะเดียวกันนี้อีก 3 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยมีแนวกำแพงสร้างเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือถึงใต้ 277.50 เมตร และกว้างจากตะวันออกไปตะวันตก 220 เมตร ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตกมีทับหลังชิ้นหนึ่งสลักเป็นรูปขบวนแห่พระพุทธรูป นาคปรกที่ประดิษฐานอยู่เหนือคานหาม

ซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน (ระเบียงคด) เมื่อผ่านจากซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกไปแล้ว ก็จะถึงซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน ซึ่งล้อมรอบปรางค์ประธาน กำแพงชั้นในของปราสาทแตกต่างจากกำแพงชั้นนอก คือ ก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันคล้ายเป็นทางเดินมีหลังคาคลุม อันเป็นลักษณะที่เรียกว่า ระเบียงคด มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวจากเหนือถึงใต้ 80 เมตร และความกว้างจากตะวันออกถึงตะวันตก 72 เมตร มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน การบูรณะระเบียงคดเมื่อปี พ.ศ 2532 ได้พบแผ่นทองดุนลายรูปดอกบัว 8 กลีบ บรรจุไว้ในช่องบนพื้นหินของซุ้มประตูระเบียงคดเกือบจะทุกด้าน แผ่นทองเหล่า นี้คงไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลเหมือนที่พบในปราสาทอื่นอีกหลายแห่ง

ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่กลางลานภายในระเบียงคด เป็นศูนย์กลางของศาสนสถานแห่งนี้ ปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวทั้งองค์ ต่างจากซุ้มประตู(โคปุระ) และกำแพงชั้นในและชั้นนอกที่สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นหลัก มีหินทรายสีขาวเป็นส่วนประกอบบางส่วน เนื่องจากหินทรายสีขาวมีคุณสมบัติคงทนดีกว่าหินทรายสีแดง องค์ปรางค์สูง 28 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองยาวด้านละ 22 เมตร ด้านหน้ามีมณฑปเชื่อมต่อกับองค์ปรางค์โดยมีฉนวนกั้น องค์ปรางค์และมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนด้านอื่นๆ อีกสามด้านมีมุขยื่นออกไปมีบันไดและประตูขึ้นลงสู่องค์ปรางค์ทั้งสี่ด้าน

ปรางค์พรหมทัต ตั้งอยู่ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 สูงประมาณ 15 เมตร สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภายในปรางค์พบประติมากรรมหินทรายจำหลักเป็นรูปประติมากรรมฉลององค์ของพระ เจ้าชัยวรมันที่ 7 (จำลอง) ที่เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต ก็เพื่อให้เข้ากับตำนานพื้นเมืองเรื่องท้าวพรหมทัตพระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันกรมศิลปากรได้เก็บรักษาองค์จริงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่ทางด้านขวา สร้างด้วยหินทรายสีแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไปเป็นทางเข้าทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักเป็นภาพเล่าเรื่องในมหา กาพย์ภารตะตอนกรรณะล่าหมูป่า ออกจากระเบียงคด (กำแพงชั้นใน) มาบริเวณลานชั้นนอกทางด้านทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยกำแพงชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัย มีสองหลังตั้งอยู่คู่กันและมีสระน้ำอยู่ทั้งสี่มุม อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.30 - 18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 40 บาท มีบริการยุวมัคคุเทศก์ซึ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนพิมายวิทยานำชมสถานที่ฟรี

โบราณสถานนอกกำแพงปราสาทหินพิมาย มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้

ประตูเมืองและกำแพงเมืองพิมาย สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บรรดาประตูเมืองทั้ง 4 ทิศ ประตูชัยด้านทิศใต้นับเป็นประตูเมืองที่สำคัญที่สุด เพราะรับกับถนนโบราณที่ตัดผ่านมาจากเมืองพระนครเข้าสู่ตัวปราสาทพิมาย หากหยุดยืนที่ช่องประตูเมืองด้านทิศใต้ จะมองเห็นปราสาทหินพิมายผ่านช่องประตูเมืองพอดี ลักษณะประตูเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทางผ่านตลอดกลางประตู ส่วนของหลังคาได้หักพังไปหมดแล้ว

เมรุพรหมทัต อยู่นอกกำแพงปราสาทด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นซากโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ปัจจุบันเป็นมูลดินทับถมจนเป็นรูปกลมสูงประมาณ 30 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 59 เมตร ที่เรียกว่าเมรุพรหมทัตเพราะเชื่อว่าเป็นที่ถวายเพลิงพระศพท้าวพรหมทัตตาม ตำนานนั่นเอง แต่จากลักษณะการก่อสร้างเข้าใจว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานทางด้านทิศใต้ได้แก่ ท่านางสระผม กุฏิฤาษี และอโรคยาศาล

ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
โดยรถยนต์ส่วนตัว

จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) มุ่งหน้าสู่จังหวัดสระบุรี เมื่อถึงตัวเมืองสระบุรีแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา สังเกตุป้ายบอกเส้นทางให้ไปขอนแก่นให้เลี้ยวซ้ายตามป้าย เมื่อเลี้ยวซ้ายแล้วให้ขับตรงไปเรื่อยๆ จะเจอทางแยกให้เลี้ยวขวาสู่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) จากนั้นให้ตรงไปเพื่อมุ่งหน้าสู่ อ.พิมาย

โดยรถโดยสารประจำทาง

จาก สถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ นั่งรถสายกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ( รถธรรมดาและปรับอากาศ ) บริการตลอด 24 ชั่วโมง และต่อรถโดยสาร นครราชสีมา - พิมาย - ชุมพวง ซึ่งมีรถโดยสารถึงเวลา 22.00 น.

Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.