เที่ยวอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ที่พักอุทยานแห่งชาติศรีน่าน สถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติศรีน่านแผนที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน

เที่ยวอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ที่พักอุทยานแห่งชาติศรีน่าน สถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติศรีน่านแผนที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
อุ่นไอมาง โฮมสเตย์
อุ่นไอมาง โฮมสเตย์ สำหรับผู้ที่รักธรรมชาติ แนะนำให้ลองแวะไปเที่ยวอำเภอเล็กๆ อย่า ...
ภูผาน่าน รีสอร์ท
ภูผาน่านรีสอร์ท จังหวัด น่าน ห่างจากตัวเมืองน่าน 30 นาที รีสอร์ทวิวสวยบนเนินเขา ...
โรงแรม แสงอรุณ
โรงแรม แสงอรุณ ให้บริการห้องพักสะดวกสบาย และสะอาดพร้อมทั้งเครื่องปรับอากาศ อยู่ห ...
ซิตี้ ปาร์ค
โรงแรมซิตี้ ปาร์ค อยู่ในทำเลที่เงียบสงบ เพียง 5 นาทีจากตัวเมือง และ 15 นาทีจากสน ...
เพิ่มพูน 2
โรงแรมเพิ่มพูน 2 อยู่ห่างออกไปด้วยการขับรถยนต์ 5 นาที โรงแรมอยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ ...
ผาชู้ หรือ ผาเชิดชู
ผาชู้ หรือ ผาเชิดชูเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่างยิ่ง นายสุจริต นันทมนตรี ...
วัดหนองบัว
วัดหนองบัว เป็นวัดที่เก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน จากคำ ...
Rating : 9/10
8471
โทรศัพท์ :
0 5470 1106
โทรสาร :
0 5470 1106
 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน จังหวัดน่าน

ถ้าอยากไปเที่ยวที่ไหนสักที่ แล้วยังนึกไม่ได้ แนะนำให้ไปเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวสองฟากฝั่งลำน้ำน่าน จนไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดน่าน

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวสองฟากฝั่งลำน้ำน่าน จนไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ สภาพป่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อน วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของประชาชนในจังหวัดน่าน มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญหลายอย่าง และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มีจุดเด่นทางธรรมชาติ ที่มีทิวทัศน์ที่สวยงามได้แก่ เสาดินและคอกเสือ ปากนาย แก่งหลวง จุดชมทิวทัศน์ดอยผาชู้ ทิวทัศน์ทั้งสองฝั่งแม่น้ำน่าน จุดชมวิวดอยเสมอดาวและผาหัวสิงห์ มีพื้นที่ประมาณ 583,750 ไร่ หรือ 934 ตารางกิโลเมตร

ใน ปี 2535 ได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 475/2532 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2532 ให้นายสมบัติ เวียงคำ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ป่าสาลีก ป่าน้ำสา และป่าแม่สาครฝั่งซ้าย ป่าห้วยแม่ขะนิง และป่าน้ำสาฝั่งขวาตอนบน ท้องที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 435 ตารางกิโลเมตร หรือ 271,875 ไร่ และได้มีคำสั่งที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้สำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติม เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และได้ใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติแห่งนี้ตามชื่อป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารและประชาชนโดยทั่วไปรู้จักกันว่า “อุทยานแห่งชาติแม่สาคร” และใช้อักษรย่อว่า ที่ กษ 0713 (มสค) /..ตามหนังสือกองอุทยานแห่งชาติ ที่ กษ 0713/674 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2533

กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่ง ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้ นายสมบัติ เวียงคำ ไปสำรวจเพิ่มเติมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำสา-ป่าแม่สาครฝั่งซ้าย ป่าห้วยแม่ขนิงและป่าน้ำสาฝั่งขวาตอนบน ท้องที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เพื่อประกาศกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามนัยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อมาอุทยานแห่งชาติแม่สาครได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713(มสค)/33 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2534 ว่า เห็นสมควรได้สำรวจเพิ่มเติมจากพื้นที่เดิมคือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยงวงและป่าห้วยสาลี และป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ท้องที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713.2/1568 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2534 อนุมัติให้ทำการสำรวจเพิ่มเติมพื้นที่ป่าดังกล่าว พร้อมทั้งมีหนังสือจังหวัดน่าน ที่ นน 0009/5857 ลงวันที่ 19 เมษายน 2536 สนับสนุนให้จัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมา นายผ่อง เล่งอี้ อธิบดีกรมป่าไม้ ได้อนุมัติให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตามหนังสือส่วนอุทยานแห่งชาติ ที่ กษ 0712.03/47 ลงวันที่ 12 มกราคม 2537 เรื่อง การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ซึ่งพื้นที่ที่ทำการสำรวจเพิ่มมีเนื้อที่ประมาณ 934 ตารางกิโลเมตร หรือ 583,750 ไร่ โดยให้กันพื้นที่ที่ราษฎรที่ได้ยึดถือครอบครองเป็นหมู่บ้านใหญ่ออกจากเขต อุทยานแห่งชาติศรีน่าน เนื่องจากมีการสำรวจเพิ่มเติมและได้ย้ายที่ทำการอุทยานแห่งชาติใหม่ ทำให้เกิดความสับสนในการเรียกขานติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการอื่น จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตามหนังสือส่วนอุทยานแห่งชาติ ที่ กษ 0712.3/47 ลงวันที่ 12 มกราคม 2537

สถานภาพ ปัจจุบัน ได้ผ่านคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติแล้ว ในการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2537 วันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2537 อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี

ลักษณะภูมิประเทศ เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในทิศเหนือ-ใต้เทือกเขาที่สำคัญคือ ดอยแปรเมือง ดอยขุนห้วยฮึก ขุนห้วยหญ้าไทร และดอยหลวง มียอดเขาขุนห้วยฮึก ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่สูงที่สุด มีความสูง 1,234 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำน่านทั้งสิ้น ส่วนใหญ่ไหลจากทิศเหนือไปสู่ทิศใต้ แหล่งน้ำที่พบเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ มีลำห้วยลำธารที่สำคัญคือ แม่น้ำขะนิง แม่น้ำสา นอกจากลำน้ำสองสายแล้วยังมีลำห้วยเล็กๆ อีกหลายสาย

ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกเป็นสามฤดู คือ ฤดูร้อน อากาศจะร้อนพอประมาณ เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝน ฝนจะตกปานกลางถึงหนัก เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาว อากาศจะหนาวจัด เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ลักษณะท้องฟ้ามีเมฆมากในฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน และมีเมฆน้อยมากในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 24 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประเภทป่าแบ่งออก เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ป่าไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่พบคือ กระบาก ตะเคียน ยาง ประดู่ มะค่าโมง ยมหอม ตะแบก ชิงชัน เหียง พลวงตะเคียนหนู พวกไม้ก่อต่างๆ พลับพลา หมีเหม็น สนสองใบ สนสามใบ เป็นต้น ป่าผลัดใบ ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบคือ สัก แดง ประดู่ ชิงชัน ขะเจ๊าะ สาธร มะค่าโมง ตะแบก ตีนนก โมกหลวง เต็ง รัง เหียง พลวง ตะคร้อ มะม่วงป่า กว้าว รกฟ้า มะกอก ไผ่ชนิดต่างๆ เป็นต้น

สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่คือ กระทิง วัวแดง กวางป่า หมูป่า หมี เสือโคร่ง เสือดาว ชะนี ลิงลม หมาไน หมาจิ้งจอก กระจง อีเห็น เสือป่า กระต่ายป่า กระแต กระรอก หมาจิ้งจอก นกนานาชนิด ที่สำคัญ คือ นกยูงไทย สัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งจะพบตามแหล่งน้ำธรรมชาติ

สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ

เสาดินนาน้อยและคอกเสือ มีลักษณะเป็นหุบผาและแท่งดินผสมหินลูกรังสีแดงปนส้มรูปทรงต่างๆ เกิดจากการพังทลายของดินเป็นพื้นที่กว้างประมาณ 60 ไร่ กระจัดกระจายไปตามพื้นที่ โดยมีป่าเต็งรังขึ้นอยู่ประปราย ลักษณะของเสาดินคล้ายแกรนด์แคนยอนเหมือนกับแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่ ส่วนคอกเสืออยู่ห่างจากเสาดินนาน้อยประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 10 เมตร มองดูคล้ายหุบผาซึ่งมีแท่งดินตั้งกระจายอยู่ภายใน การเดินทางจากอำเภอนาน้อยใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083 ไปประมาณ 3 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

แก่งหลวง ลักษณะเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ขวางกั้นลำน้ำน่านซึ่งถูกโอบล้อมด้วยภูเขาสูงสอง ด้านฤดูน้ำหลากที่กระแสน้ำไหลแรง จะมีเสียงน้ำไหลกระทบโขดหินดังกึกก้อง ฤดูแล้งน้ำน้อยจะมองเห็นแนวหินและโขดหินกระจัดกระจายอย่างสวยงาม ปรากฏหาดทรายสีขาวยาวตลอดริมฝั่ง เหมาะสำหรับการมาท่องเที่ยวพักผ่อนและเล่นน้ำ แก่งหลวงอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083 ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 17 กิโลเมตร
กิจกรรม -ล่องแก่ง - ชมทิวทัศน์

ดอยผาชู้  เป็นหน้าผาหินสูงชัน ตั้งตระหง่านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน จากจุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ป่าเขาแม่น้ำน่าน ทอดตัวคดเคี้ยวไปตามที่ราบลุ่มที่อยู่ต่ำกว่า รวมทั้งทะเลหมอกยามเช้าที่งดงาม และเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

ทิวทัศน์ทั้งสองฝั่งแม่น้ำน่าน ความยาวกว่า 60 กิโลเมตร มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ตลอดจนโขดหิน หน้าผาต่างๆ เป็นทิวทัศน์ที่งดงามเหมาะแก่การล่องแพ และนั่งเรือชมธรรมชาติ

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
ตู้ ปณ. 14 อ. นาน้อย จ. น่าน 55150

การเดินทาง รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ผ่านนครสวรรค์ พิษณุโลกถึงแพร่ จากแพร่ตามถนนยันตรกิจโกศล ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ไปถึงอำเภอเวียงสา เลี้ยวขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1026 จากอำเภอ เวียงสาไปอำเภอนาน้อย ระยะทางประมาณ 35 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามถนนสายนาน้อย -ปางไฮ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083 ไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงเสาดิน และถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ มีพื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.