ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นตำนานของปราชญ์ท้องถิ่น วิถีชีวิตชาวบ้าน ตลอดจนวัฒนธรรมที่ดีงามของการเรียนรู้ เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถพัฒนาสังคมแห่งการเรียนสังคมเอื้ออาทร สังคมภูมิปัญญา
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวบ้านควนขนุน
สถานที่ผลิต 215 หมู่ที่ 9 ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ประธานกลุ่ม นางเรณู ชูพิทักษณาเวช
ประวัติความเป็นมา มนุษย์รู้จักมะพร้าวมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล มะพร้าวเป็นอาหารทำน้ำมัน และทำเป็นเครื่องปรุงอาหารหวานคาวนานาชนิดมะพร้าวจึงเป็นพื้นที่มนุษย์ทุก ชาติทุกภาษารู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี กะลามะพร้าว ได้รับการประดิษฐ์เป็นจับปิ้งเพื่อห้อยเป็นเครื่องปกปิดอวัยวะเพศของเด็ก หญิงตัวน้อยได้อีกอย่างหนึ่งโดยทั่วไปเครื่องปกปิดอวัยวะเพศของเด็กหญิงนั้น ในหมู่ผู้มีฐานะ จะทำด้วยเงินทองหรือนาก แต่ข้าวบ้านที่มีความเป็นอยู่ไม่ดีนักก็ใช้จับปิ้งกะลาหรือเรียกว่าปิ้งพล กก็มากมะพร้าวจึงมีอรรถประโยชน์นานาประการ กะลามะพร้าวนั้นเคยทำเป็นของใช้ประเภท ขันตักน้ำกระบวยตักน้ำ และทำเป็นป้อยตวงข้าวสารสำหรับหุงข้าวกันมานาน เพิ่งจะหายไปเมื่อเร็วๆ นี้ คนบางคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ยามไปกินอาหารในงานต่าง ก็จะใช้กะลาใหม่ ๆใส่อาหารรับประทาน เสร็จแล้วก็โยนทิ้งไปทำนองเดียวกับการใช้ถ้วยชามโฟมในปัจจุบันนี้ ดังนี้จะเห็นว่ามะพร้าวหรือกะลามะพร้าวได้นำมาจัดทำผลิตภัณฑ์หลายชนิด ความสำคัญของกะโหลกกะลาในสมัยก่อนนั้นมีน้อยนิดเดียวจึงเกิดการเปรียบเปรยคน ที่ใช้ชีวิตอย่างไร้คุณค่า คือไม่ได้ทำอะไรเลย เพลไถลไปเรื่อยๆ จะถูกเรียกขานว่า “ไอ้พลกไอ้ต้อ” เป็นการบ่งบอกถึงความไร้ค่าเสมอด้วยกะลา
ความไม่แน่นอนเป็นสิ่งแน่นอนจริง ๆจึงก้าวมาถึงวันที่กะลาอันไร้ค่า เกิดมีค่าขึ้นมาในสายตาของนักประดิษฐ์มีการจัดการแปรรูปกะลาเป็นผลิตภัณฑ์ ที่เพิ่มคุณค่าได้มากหลายนอกจากทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสภาพสตรี ออกแบบเป็นกระเป๋าถือ สภาพสตรี เข็มขัด เข็มกลัดปั่นปักผม สร้อย ที่เด่น ๆ ก็ได้แก่ โคมไฟฟ้าสามขา และตะเกียงเจ้าพายุนักประดิษฐ์ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวรูปแบบใหม่นานา ชนิด ซึ่งได้หลั่งไหลไปสู่ตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศอย่างไม่ขาดสาย
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ ลักษณะที่โดดเด่นของผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว
1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นตำนานของปราชญ์ท้องถิ่น วิถีชีวิตชาวบ้าน ตลอดจนวัฒนธรรมที่ดีงามของการเรียนรู้
2. มีลักษณะโดดเด่นที่เน้นงานฝีมือของชาวบ้านที่สามารถพัฒนาและเพิ่มคุณค่าของวัสดุในท้องถิ่นและไม่ลายสิ่งแวดล้อม เป็นวิถีทางสังคมได้อย่างลงตัว
3. เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถพัฒนาสังคมแห่งการเรียนสังคม เอื้ออาทร สังคมภูมิปัญญาไปพร้อมกับการพัฒนารายได้ขยายการผลิตการตลาดอย่างกว้างขวาง และสามารถ ทำรายได้สู่ชุมชนและจังหวัดพัทลุงปีละหลายล้านบาทอีกทั้งวิถีชีวิตของชุมชน ยังส่งผลให้ธุรกิจการท่องเที่ยวเจริญเติบโดตามไปด้วย จะมีความนุ่มและสวยงามคงทนทำจากวัสดุธรรมชาติซึ่งหาได้ในพื้นที่
ความสัมพันธ์กับชุมชน จากภูมิปัญญามาเป็นรายได้ จากสิ่งที่อยู่เหมือนไร้ค่า ชาวบ้านไม่ให้ความสำคัญจนมีแนวนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาและ วิสาหกิจชุมชนมีการพัฒนาตามแนวทางโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการขายและการตลาดมากขึ้นเป็นที่รู้จักมากขึ้น ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มเริ่มจากจำนวนสมาชิกน้อยผลิตของชิ้นเล็ก ๆ และได้พัฒนาฝีมือขึ้นมาตามลำดับ ผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของตลาดและได้พัฒนาฝีมือขึ้นตามลำดับประกอบกับมี ความรู้และประสบการณ์เดิมที่สั่งสมมาจากบิดา นายสาธิต ชูพิทักษณาเวช ได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามามีส่วนร่วมใน การผลิตรูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นอาชีพเสริมในการสร้างงานและสร้างรายได้ ให้กับครอบครัวและสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้น จำนวน 30 คน มีการขยายการผลิต ขยายการตลาดมากขึ้น ได้รับการยอมรับในท้องถิ่น ตลาดในจังหวัดต่างจังหวัดและต่างประเทศรายได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ ความสามารถและทักษะดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อ กันมาจากบรรพบุรุษซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านที่ ได้รับการถ่ายทอดต่อกันมาจึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันธุ์เหมือนญาติพี่ น้องอย่างเหนียวแน่นกอรปกับการผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างเหมาะสมกับ สถาพท้องถิ่น “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” จึงเป็นสิ่งสำคัญ มีคุณค่าควรได้มีการบันทึกเพื่อการอนุรักษ์และถ่ายทอดต่อชุมชนรุ่นหลังสืบไป
ขั้นตอนการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ ขั้นแรกต้องหากะลามะพร้าวจากที่ใกล้ๆ ถ้าไม่มีต้องสั่งจากท้องถิ่นอื่น โดยนำมาคัดขนาดรูปร่างของลูกมะพร้าวตามที่ต้องการตามแบบที่ลูกค้าต้องการ หรือตามคำสั่งจัดการขูดเนื้อมะพร้าวออกจำหน่าย และรอขั้นตอนการจัดขึ้นรูป เมื่อขึ้นรูปแบบชิ้นส่วนประกอบตัวผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้วตกแต่งด้วยการพ่นเล็คเกอร์ ขัดน้ำมันมะกอก หรือขัดเงากับผ้า จนดูเรียบร้อย สวยงาม ตามความเหมาะสมของเนื้องานและก่อนขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์หรือรอการจำหน่าย ได้ดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าทุกชิ้นโดยการตรวจดูความเรียบร้อย ถ้าเป็นโคมไฟต้องทดสอบความปลอดภัยของสายไฟ และหลอดไฟ ตลอดจนการใช้งานของผลิตภัณฑ์ก่อนส่งจำหน่ายถึงมือลูกค้า
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต ต้องเป็นกะลาที่แก่มากๆ เพราะจะไม่เป็นเชื้อราและหดตัว
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การหาตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งซึ่ง ส่วนใหญ่คณะกรรมการกลุ่มจะทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงต้องติดต่อประสานงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนในการนำผลิตภัณฑ์กระจูดไปวางขายที่ตลาดภาย ในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดห้างสรรพสินค้า และตลาด กรุงเทพฯ พร้อมทั้งนำออกแสดงและจำหน่ายในงานต่างๆเช่นงานแสดงสินค้าเมืองทองธานี กรุงเทพๆ ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้ชมงานและผู้ส่งออกจนมีใบสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ตามมาเป็น จำนวนมากซึ่งกลุ่มมีกำลังการผลิตและแหล่งวัตถุดิบที่ยังสามารถเพิ่มปริมาณ การผลิตได้อีกเท่าที่ลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวของกลุ่มและน่าจะมี อนาคตที่ยาวไกล ถ้าตราบใดที่ยังรวมกันเป็นกลุ่ม และปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเศษวัสดุจากกะลามะพร้าวและไม้ เป็นวัสดุที่มีอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากวิถีชีวิตต้องบริโภคเป็นประจำวัตถุดิบ ที่ไม่มีวันหมด
สถานที่จำหน่าย ศูนย์หัตถกรรมกะลามะพร้าวและสินค้า OTOP อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงสถานที่ตั้งบ้านเลขที่ 215 หมู่ที่ 9 ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โทร.0-7468-1217หรือสามารถติดต่อขอรายละเอียดผ่านทางสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอควนขนุน โทร 0-7468 -2000 ราคาจำหน่ายตั้งแต่ 10 – 5,000 บาท ขึ้นอยู่กับชิ้นงานต้นทุน ความยากง่าย และฝีมือ