แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 4 ตำบลสะทิ้งหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา 90330
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา สถานที่ผลิต บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 4 ตำบลสะทิ้งหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา 90330
ประธานกลุ่ม นางเสาวลักษณ์ ทักขระ
ประวัติความเป็นมา สมัยโบราณตำบลสะทิ้งหม้อได้มีการทำเครื่องปั้นดินเผากันทุกครัวเรือนมีการทำ หม้อแล้วนำไปขายโดยใช้เรือขณะนั้นไม่รถและไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่เครื่อง ปั้นดินเผาสะทิ้งหม้อมีเพียงที่เดียวในภาคใต้ซึ่งในสมัยก่อนทุกตำบลและทุก ครัวเรือนต้องหุงข้าวด้วยหม้อดินเผาจึงได้อนุรักษ์การทำหม้อ โดยได้สืบทอดจากบรรพบุรุษโดยการรวมกลุ่มกันผลิตหม้อเพื่อจำหน่ายและได้พัฒนา รูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆมากขึ้น
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ ลักษณะที่โดดเด่นของเครื่องปั้นดินเผาสะทิ้งหม้อ ใช้เนื้อดินเหนียวธรรมชาติจากตำบลปากรอ มาปั้นและเผาโดยไม่มีการเคลือบน้ำยามีสีสันสวยงามตามธรรมชาติ
ความสัมพันธ์กับชุมชน ฝีมือแรงงาน คือคนในชุมชนอย่างแท้จริงถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้องอีกทั้งได้รวมตัวกันขาย และพัฒนารูปแบบต่าง ๆ หลายชนิดเป็นหม้อสำหรับเด็กเล่นขายของเป็นชุด
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. ดินเหนียวธรรมชาติ (ซื้อจากตำบลปากรออำเภอสิงหนคร)
2. น้ำ
3. เครื่องโม่ดิน
4. จอบ,เสียมหรือพลั่ว
5. ตะแกรงร่อนดิน
6. แป้นหมุน
ขั้นตอนการผลิต นำดินเหนียวธรรมชาติมานวดทำให้เป็นแผ่นบางหมักน้ำโดยประมาณ แล้วจึงนำดินมาเข้าเครื่องโม่ bเมื่อได้ดินจากการโม่น้ำแล้วจึงนำมาขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ตามแบบและขนาดของเครื่องปั้นที่ต้องการตามรูปต่าง ๆเช่น กระปุก ,หม้อ จนปัจจุบันนี้มีการพัฒนารูปแบบต่าง ๆตามความต้องการของท้องตลาด นำผลิตภัณฑ์ที่ปั้นแล้ว ออกผึ่งแดด ผึ่งลมพอความแข็งตัวของเนื้อดินจับยกได้ โดยไม่ทำให้เสียรูปทรงจึงนำขึ้นแป้นขูดแต่งอีกครั้งเพื่อให้ได้รูปทรงและ ความหนาบางของเนื้อดินตามแบบและความต้องการจนเสร็จจากนั้นจะผึ่งไว้จนเนื้อ ดินมีความแข็งตัวพอที่จะขัดหรือขูดแต่งให้เรียบร้อยสวยงามอีกครั้ง จึงนำไปเข้าเตาเผาตั้งแต่เริ่มต้นจนผลิตภัณฑ์เผาเสร็จ เป็นการจบกระบวนการผลิตใช้เวลาอย่างน้อย 10-15วัน
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต ดินที่ใช้เป็นดินเหนียวธรรมชาติที่มีสิ่งเจือปนต่าง ๆ น้อยมากการเตรียมดินจะทำอย่างพิถีพิถันโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆจนได้เนื้อดินที่สมบูรณ์เหมาะแก่การนำไปปั้น การเผานั้น ใช้อุณหภูมิที่ 800 องศาเซลเซียส จนได้เครื่องปั้นดินเผาที่มีสีส้มและแกร่งตามลักษณะธรรมชาติ และดินเหนียวที่ทำก็เป็นเอกลักษณะของดินแต่ละพื้นที่