แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 52/1 หมู่ที่ 6 ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มแม่บ้านจักสานตะกร้าใบตาล
สถานที่ผลิต 52/1 หมู่ที่ 6 ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ประธานกลุ่ม นางดวงจันทร์ มรรคโช
ประวัติความเป็นมา อำเภอสทิงพระได้ชื่อว่า เป็นแหล่งที่มีต้นตาลมากที่สุดในประเทศไทยและนับได้ว่าตาลโตนดเป็นพืช เศรษฐกิจที่สำคัญของชาวสทิงพระมาแต่บรรพกาลโดยเฉพาะน้ำตาลสด และผลตาลอ่อน ใยตาล ต้นตาล และใบตาล ในที่นี้กลุ่มก็กล่าวถึงใบตาล การจักสานใบตาลเป็นตะกร้าหนามทุเรียนนั้นได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งเมื่อ ก่อนได้สานเป็นกระเป๋าใส่หนังสือให้ลูกหลานไปโรงเรียนต่อมาลูกหลานก็ได้ พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นและรวมกลุ่มขึ้นทำเป็นตะกร้าหนามทุเรียนเพราะได้ใช้วัตถุ ดิบในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์พร้อมสืบทอดตำนานจากบรรพบุรุษไว้ให้หลานได้ดู ได้ใช้ และสามารถเสริมสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มได้เป็นอย่างดี
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
- เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ใช้วัสดุในท้องถิ่น
- สีธรรมชาติ ทนทาน
- ใช้แรงงานคนทุกขั้นตอน
- เป็นผลิตภัณฑ์ 3 ดาว ในระดับภาค ประจำปี 2546
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
มผช. 2. OTOP คัดสรร 3 ดาว
ความสัมพันธ์กับชุมชน ฝีมือ/แรงงาน/วัตถุดิบ คือ ทรัพยากรในการผลิตที่มีอยู่ในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. ใบตาลโตนด(ส่วนยอดของใบตาล)
2. ก้านของใบตาล
3. หวายเทียม
4. แล็คเกอร์
ขั้นตอนการผลิต
1. นำใบตาลส่วนยอดตาลที่ได้ขนาด มาเลื่อยเอาก้านออก นำมาแช่น้ำ 1 คืนแล้วนำมาตากแดดให้แห้ง
2. ดึงตอกให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ นำตอกมาต้ม 15 นาที แล้วนำมาตากแดดให้แห้งอีกครั้ง
3. ลงมือสานผลิตภัณฑ์ตามขนาดที่ต้องการ
4. การสานตะกร้าหนามทุเรียนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะใช้แรงงานคนทุกขั้นตอน
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต ขั้นตอนการสานตะกร้าหนามทุเรียน เพื่อให้หนามทุเรียน มีความละเอียดสวยงามมีเคล็ดลับ คือ จะต้องชุบน้ำอุ่นในขณะที่กำลังขึ้นรูปหนามทุเรียน