จุดเด่นไข่เค็ม อสม คือ การทำไข่เค็มสูตรอำเภอไชยา จะต้องใช้ดินจอมปลวกเป็นส่วนผสม เนื่องจากดินจอมปลวกมีธาตุกำมะถัน ช่วยทำให้ไข่เค็มมีรสชาติดีขึ้น ไข่เค็ม อสม ได้รับรางวัล OTOP คัดสรร 5 ดาว ปี 2553
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไข่เค็ม อสม.
สถานที่ผลิต บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 5 ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประธานกลุ่ม นางประสงค์ หีตอนันต์
เมืองไชยาหรือเมือศรีวิชัย ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 – 17 แต่การทำไข่เค็มเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2466 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีนายกี่ แซ่ฝัก ชาวจีนกวางตุ้ง ซึ่งมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนโรงทอง อำเภอเมืองไชยา มีอาชีพเป็นช่างทำสะพานเหล็ก ทางรถไฟสายชุมพร-สุราษฎร์ธานี และเลี้ยงเป็ดไว้กินไข่ ซึ่งเกือบทุกครัวเรือนจะเลี้ยงเป็ดไว้กินไข่ เมื่อไข่เป็ดมีจำนวนมากขึ้นจึงนำไปขายที่ตลาด สถานีรถไฟและสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่งในอำเภอไชยา ต่อมามีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรจะเก็บไข่ไว้ได้นาน ซึ่งได้ปรึกษากับชาวบ้านเมืองไชยาใช้ภูมิปัญญาที่มีทดลองอยู่หลายวิธี จนกระทั่งยอมรับวิธีการใช้ดินจอมปลวกในอำเภอไชยามาผสมเกลือป่นในอัตราส่วนพอ เหมาะ นำมาพอกไข่เป็ดสดที่ได้จากเป็ดที่เลี้ยงเอง คลุกขี้เถ้าแกลบไว้นานพอประมาณ แล้วนำมาต้มกินจะได้ไข่เค็มที่แดงเป็นมัน หอม รสชาติอร่อย จึงได้ผลิตไข่เค็มตามกรรมวิธีดังกล่าวขาย ซึ่งพอมีมากทำให้คนอื่น ๆ ในตลาดไชยาหันมาผลิตไข่เค็มขายกันเป็นจำนวนมากในปี พ.ศ.2477 ไข่เค็มได้พัฒนาจนมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนทั่งไป ใครไปใครมาก็จะซื้อเป็นของฝากในนาม “ไข่เค็มไชยา” การทำไข่เค็มจึงกลายเป็นอาชีพของชาวไชยา วัฒนธรรม ดังคำขวัญอำเภอไชยาที่ว่า “พระบรมธาตุคู่เมือง รุ่งเรืองพุทธศาสตร์ พุทธทาสปราชญ์โลก สวนโมกขพลาราม ลือนามศรีวิชัย ผ้าไหมพุมเรียง ทะเลเคียงหาดทราย แหล่งซื้อขายไข่เค็ม”
จุดเด่นไข่เค็ม อสม การทำไข่เค็มสูตรอำเภอไชยา จะต้องใช้ดินจอมปลวกเป็นส่วนผสม เนื่องจากดินจอมปลวกมีธาตุกำมะถัน ช่วยทำให้ไข่เค็มมีรสชาติดีขึ้น การเลี้ยงเป็ดในอดีตใช้เป็ดพันธ์ทั่วไป ปัจจุบันเลี้ยงเป็ดพันธ์กากีแคมเบรน ซึ่งให้ไข่คุณภาพดีโดยสั่งซื้อมาจากจังหวัดนครปฐม ปัจจุบันสามารถผลิตไข่เป็ดได้เองอย่างสม่ำเสมอ การเลี้ยงเป็ดของอำเภอไชยา จะไม่เลี้ยงเหมือนกับที่อื่นๆ เพราะจะเลี้ยงด้วยหัวกุ้ง ข้าวเปลือก ลูกปลาตัวเล็กๆ แต่ถ้าไม่มีหัวกุ้ง ไม่มีข้าวเปลือกก็สามารถให้อาหารที่สำเร็จรูปได้
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
1. OTOP คัดสรร 5 ดาว ปี 2553
2. ใบรับรองคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เลขที่ มก - ธ.ก.ส. 025/2550
3.รางวัลชนะเลิศของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 8 จากการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ด้านการบริการจัดการโดยใช้ข้อมูลทางบัญชี ปี พ.ศ.2550
4. ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประเภท ธุรกิจขนาดย่อย
วัตถุดิบ 1. ไข่เป็ด 2. ดินจอมปลวก 3ส่วน 3. เกลือป่น 1 ส่วน 4. น้ำต้มสุก 5.ขี้เถ้าแกรบ
ขั้นตอนการผลิต
1. การเลี้ยงเป็ด เลี้ยงตามธรรมชาติ โดยให้เป็ดกินอาหารท้องถิ่น คือ ข้าวเปลือก อาหารสดจากทะเล เช่น หอยกะพง ลูกปลาสด (ปลาเป็ด) หัวกุ้ง ลูกปู
2. การเตรียมไข่เป็ด
- คัดเลือกไข่สด ใบใหญ่ได้มาตรฐาน คือ ไข่เป็ด 300 ฟอง ต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 23 กิโลกรัม
- เปลือกไข่ไม่มีรอยบุบหรือรอยร้าว
3.การเตรียมดินที่ใช้พอก
- คัดเลือกดินจอมปลวกสีแกมเหลืองที่แห้งสนิท ที่อยู่ในอำเภอไชยานำมาบดให้ละเอียด และร่อนด้วยตะแกรงตาถี่ เพื่อแยกทรายและวัตถุเจือปนออก
- เกลือป่นที่เป็นเกลือทะเล จะเป็นเกลือป่นสำเร็จรูปหรือเกลือเม็ดใหญ่มาปนก็ได้ โดยห้ามใช้น้ำเกลือและน้ำที่ใช้ต้องเป็น บ่อหรือน้ำบาดาลเท่านั้น
4. นำไข่เป็ดตามข้อ 2 ลงชุบในดินตามข้อ 3 และนำไปวางบนพื้นขี้เถ้าแกลบ 6.7 ขึ้น นำขี้เถ้ามาคลุกให้ติดทั่วเปลือกไข่
5. การบรรจุลงกล่องระบุจำนวนฟอง ระบุวันที่เวลาการบริโภคและวันหมดอายุ 1- 5 วัน ต้มไข่หวาน 3-7 วัน ทอดไข่ดาว 10-15 ต้ม 15- 20 วัน ทำไส้ขนมหรือยำ หรือต้องการคงความเค็มไว้เต็มที่ให้ล้างดินพอกไข่ให้สะอาดแล้วนำไปเก็บในตู้ เย็นสามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 เดือน
เทคนิคในการผลิต
1.ดินที่ใช้พอกไข่เป็นดินจอมปลวกในเขตอำเภอไชยาเท่านั้น
2.อาหารที่เป็ดกินคือข้าวเปลือกทำให้ไข่ร่วนมีรสชาติอร่อย
3. ปลาป่นทำให้ไข่ฟองโตเปลือกไข่หนา
4.หัวกุ้งทำให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไข่เค็ม อสม. บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 5 ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2. ร้านค้าหน้าวัดสวนโมกขพลาราม
3. ร้านค้าในตลาดไชยา
4.ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP