จุดเด่นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมบ้านดงป่าซาง คือผลิตภัณฑ์กระดาษสาที่ผลิตขึ้นจากต้นปอที่มีคุณภาพจะมีความเหนียว คงทน ใช้งานได้ในทุกสภาพอากาศ และสามารถนำไปแปรรูป ขึ้นรูปตามแบบที่ต้องการได้ดี สีสันที่ย้อมได้ สดใส สวยงาม
กลุ่มแม่บ้านและเยาวชนพัฒนาหัตถกรรมบ้านดงป่าซาง
สถานที่ผลิต เลขที่ 26/1หมู่ที่ 6 ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 50210
ประธานกลุ่มผู้ผลิต นายวงศพันธ์ ต๊ะมา
ประวัติความเป็นมา บ้านดงป่าซาง หมู่ที่ 6 เป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบล มะขุนหวานอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสันป่าตอง ประมาณ 16 กม. ลักษณะทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ประชากรส่วนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพในการทำกระดาษสารองลงมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งโดยมากเป็นการทำสวนลำไย และ ทำสวนผัก ปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่ทั้งสิ้น 231 ครัวเรือน โดยแยกเป็นชาย 362 คนเป็นหญิง 408 คน รวม 770 คน โดยมีกำนันทวี สมถาปกครองตั้งแต่แยกตำบลจนถึงปัจจุบัน ในอดีตบ้านดงป่าซางมีการใช้ปอสาทำกระดาษข่อยสำหรับบันทึกบทธรรมะซึ่งสาใน อดีตจะใช้ในกิจกรรมทางศาสนาเท่านั้นชาวบ้านยึดอาชีพทางเกษตรกรรม ปลูกข้าว ทำสวนถั่วเหลือง ข้าวโพด กระเทียมสวนผักไม่ล้มลุก และประสบปัญหาในเรื่องฤดูกาล แหล่งน้ำ ต้นทุนการผลิตสูง ราคาต่ำจึงได้หันมาทำสวนลำไยแทน ซึ่งสามารถผลผลิตปีละ 1 – 2 ครั้ง แต่ต้นทุนการผลิตสูงในปี 2535 นายสิงห์คำ ต๊ะมาที่มีประสบการณ์การทำและแปรรูปกระดาษสาจากตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ ได้กลับมาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านและนำความรู้มาเผยแพร่ให้ชาวบ้านจึงได้มีการทำ กระดาษสาขึ้น โดยผู้หญิงและเยาวชน จะมีอาชีพเสริมโดยการผลิตสา และแปรรูปกระดาษสา ส่วนผู้ชายจะทำสวนในปี 2538 ได้มีการรวบรวมจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านและเยาวชนแปรรูปกระดาษสาขึ้นในหมู่บ้านดง ป่าซาง โดยนำผลผลิตทางการเกษตร เช่นเมล็ดข้าวเปลือก เมล็ดถั่วเหลือง เมล็ดงา เมล็ดข้าวโพดและวัชพืช กิ่งไม้ ใบหญ้า มาประดับตกแต่งเพื่อเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์และสร้างคุณค่าแก่สิ่งที่ไร้ค่า เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน โดยทำแผ่นกระดาษสาส่งขายที่ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพงส่วนปอสาซื้อจากอำเภอสะเมิง และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
จุดเด่นผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์กระดาษสาของกลุ่มแม่บ้านและเยาวชนพัฒนาหัตถกรรมบ้านดงป่าซาง ผลิตจากต้นปอสาที่มีคุณภาพโดยจะต้องมีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 7 ปี และมีกรรมวิธีในการตัดที่มีลักษณะเฉพาะ คือต้องตัดให้ห่างจากพื้นดินประมาณ 1 ฟุตเพราะจะเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ เพราะต้นปอสาเมื่อถูกตัดไปแล้วจะมีการแตกหน่อขึ้นใหม่ ถ้าตัดเสร็จแล้วเผาต่อทิ้งและไม่ปลูกใหม่เพิ่มต่อไปก็จะไม่มีปอสาให้ผลิต สินค้าดี ๆ อีกต่อไป และหน่อสาที่ขึ้นใหม่ก็ต้องใช้เวลารอกว่าจะถึงเวลาตัดได้อีก 2 -5 ปี ผลิตภัณฑ์กระดาษสาที่ผลิตขึ้นจากต้นปอที่มีคุณภาพจะมีความเหนียว คงทน ใช้งานได้ในทุกสภาพอากาศ และสามารถนำไปแปรรูป ขึ้นรูปตามแบบที่ต้องการได้ดี สีสันที่ย้อมได้ สดใส สวยงาม
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
- ได้รับรางวัลจัดสรรผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับห้าดาว ประจำปี 2547
- ได้รับชนะเลิศจากการประกวดกลุ่มแม่บ้านและเกษตรกรดีเด่น จังหวัดประจำปี 2545
- ได้รับการคัดสรรสุดยอดหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลระดับ3 ดาว ประจำปี 2549
- ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ปี 2547
กลุ่มแม่บ้านและเยาวชนพัฒนาหัตถกรรมบ้านดงป่าซาง ตั้งขึ้นมาจากการรวมกลุ่มกันของคนในชุมชนและสมาชิกกลุ่มยังประกอบไปด้วย กลุ่มย่อย ๆ รวมทั้งสิ้น 4 กลุ่ม คือกลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษสาแปรรูป กลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษสา กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกลุ่มกิจกรรมรวมเชื้อ รวมสมาชิกทั้งสิ้น 180 คน โดยแต่ละกลุ่มจะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินงานและมีความ เชื่อมโยงกันในทางการเงิน ทุกสิ้นปีจะทำการสรุปผลการดำเนินงานและเมื่อมีผลกำไรจะมีการจัดสรรผลกำไร เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับสมาชิกและชุมชน เช่นกองทุนเงินฉุกเฉินให้กับสมาชิก กองทุนเพื่อการรักษาพยาบาลในกรณีต้องนอนโรงพยาบาลกองทุนช่วยเหลือผู้สูงอายุ กองทุนเพื่อการศึกษาของเยาวชนที่ด้อยโอกาสทางกสนศึกษากองทุนสาธารณประโยชน์ ในท้องถิ่น เงินปันผลสมาชิก และค่าตอบแทนคณะกรรมการ
วัตถุดิบ 1. ปอสาที่แห้งแล้ว 25 กก. 2. โซดาไฟ 2 กก. 3. ซิลิเกด 1 กก. 4. ไฮโดเจน 3.5 กก.
ขั้นตอนการผลิต นำปอสาแห้งมาแช่ในน้ำ1คืนหรือมากกว่านั้น พอนิ่มล้างน้ำให้สะอาด ตั้งเตาต้มน้ำให้เดือดใส่โซดาไฟแล้วใส่ปอสาลงไปต้มประมาณ 2 ชม.หมั้นกลับปอสาทุก 30 นาทีหากปอสาสุกให้ตักขึ้นแช่น้ำและล้างให้สะอาดให้หายลื่น วิธีฟอกสีต้มน้ำให้เดือดเติมซิลิเกดและไฮโดเจนน้ำปอสาลงต้มจนขาว
เทคนิคในการผลิต ในกรณีที่จะนำกระดาษสาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่มีสีสันสดใส และจะต้องย้อมสีกระดาษสาใหม่ ในขั้นตอนการย้อมสีจะต้องมีการใส่ผงฟองนวลลงไปในกระบวนการฟอกสีด้วย เพื่อจะได้สีของกระดาษที่ขาวนวลเมื่อนำกระดาษไปย้อมสี ก็จะได้สีของกระดาษที่สวย สดใส การควบคุมคุณภาพ ที่ใช้ในการผลิต การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นหน้าที่ของฝ่ายตรวจสอบและควบ คุมคุณภาพโดยจะทำการควบคุมตรวจสอบตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การเก็บรักษาและระหว่างกระบวนการผลิต จนถึงคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนส่งถึงมือลูกค้า
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
- กลุ่มแม่บ้านและเยาวชนพัฒนาหัตถกรรมบ้านดงป่าซางเลขที่ 26/1 หมู่ที่ 6 ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50210 โทร.053-837162 มือถือ085-7828109 โทรสาร053-837162
- สวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร
- ต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย แคนาดาสิงคโปร์ อียิปต์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง