งานวันเงาะโรงเรียน เงาะโรงเรียนเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของสุราษฎร์ธานี จนได้เป็นหนึ่งในคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า "เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ"
งานวันเงาะโรงเรียน เงาะโรงเรียนเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของสุราษฎร์ธานี จนได้เป็นหนึ่งในคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า "เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ"
งานวันเงาะโรงเรียน จัดขึ้นประมาณ 2-8 สิงหาคมของทุกปี งานวันเงาะโรงเรียน ซึ่งถือว่าเป็นผลิตผล ทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อของจังหวัด เงาะโรงเรียนที่มีคุณภาพ เปลือกภายนอกขนต้องไม่ยาวมาก มีผิวสีแดงอมชมพูไม่แดงจัด เนื้อในต้องหวาน กรอบ ล่อนไม่ติดเมล็ด งานนี้จะจัดขึ้น บริเวณสนามศรีสุราษฎร์ และริมเขื่อนแม่น้ำตาปีในตัวเมือง เพื่อนำผลิตผลเงาะโรงเรียน และผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ มาแสดงและจำหน่ายแก่ผู้สนใจ กิจกรรมที่นอกเหนือจากนี้ได้แก่ นิทรรศการทางการเกษตร การแสดงของสุนัขสงคราม กองบิน 71 การแข่งขันลิงขึ้นมะพร้าว การประกวด นกเขาใหญ่การแข่งขันจักรยานสามล้อและการ ประกวดธิดาเงาะ ประกวดรถประดับด้วยผลเงาะและผลไม้อื่นๆ
เงาะโรงเรียน หรือ เงาะพันธุ์โรงเรียน เป็นเงาะพันธุ์ดีที่สุดในประเทศไทย และเป็นเงาะพันธุ์ดีที่สุดในโลก เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เงาะโรงเรียน มีชื่อมาจากสถานที่ต้นกำเนิดของเงาะ คือ โรงเรียนนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เงาะต้นแม่พันธุ์มีเพียงต้นเดียว ปลูกด้วยเมล็ดเมื่อ พ.ศ. 2469
ผู้ปลูกเงาะต้นแม่พันธุ์นี้ เป็นชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นายเค หว่อง (Mr. K Wong) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย เข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอนาสาร ตั้งอยู่บนฝั่งคลองฉวาง ตรงข้ามกับโรงเรียนนาสาร ปัจจุบัน นายเค หว่อง ได้ซื้อที่ดินริมทางรถไฟด้านทิศตะวันตก จำนวน 18 ไร่ สร้างบ้านพักของตนและได้นำเมล็ดพันธุ์เงาะจากปีนัง มาปลูกทางทิศเหนือของบ้านทั้งสิ้น 4 ต้น (ขณะนี้เงาะพันธุ์นี้ที่เมืองปีนังสูญพันธุ์แล้ว) แต่มีเพียงต้นที่สองเท่านั้นที่มีลักษณะพิเศษ เมื่อสุกแล้วรสชาติหวาน หอม เนื้อกรอบ เปลือกบาง เงาะต้นนี้ก็คือ “เงาะพันธุ์โรงเรียน” พ.ศ.2479 เมื่อ นายเค หว่อง เลิกกิจการเหมืองแร่กลับเมืองปีนัง ได้ขายที่ดินผืนนี้พร้อมบ้านพักแก่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ทางราชการจึงปรับปรุงให้เป็นอาคารเรียน และย้ายโรงเรียนนาสารจากวัดนาสารมาอยู่ที่อาคารแห่งนี้ เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2479 แต่เงาะพันธุ์โรงเรียนก็ไม่ได้แพร่หลาย เนื่องจากการส่งเสริมด้านการเกษตรไม่ดีพอ และทางโรงเรียนสงวนพันธุ์ไว้ ไม่ให้แพร่หลายในระหว่าง พ.ศ. 2489-2489 มีผู้ตอนกิ่งไปขยายพันธุ์ได้เพียง 3-4 รายเท่านั้น สาเหตุที่สงวนพันธุ์น่าจะเนื่องมาจาก กลัว “ต้นแม่พันธุ์” จะตาย ต่อมาปี พ.ศ. 2499 นายคำแหง วิชัยดิษฐ์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านนาสาร และพิจารณาแล้วว่า เงาะต้นนี้เป็นเงาะพันธุ์ดี ควรให้มีการขยายพันธุ์อย่างแพร่หลาย จึงอนุญาตให้คนทั่วไปตอนกิ่งแพร่พันธุ์ได้ แต่การแพร่พันธุ์ก็ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร
พ.ศ. 2500-2501 ได้มีการทาบกิ่งแพร่พันธุ์ และเวลาเดียวกันนั้น มีเงาะจากจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส แพร่หลายเข้ามา คือ เงาะพันธ์ยาวี เงาะพันธุ์เจ๊ะโรง เงาะพันธุ์เปาราง ชาวบ้านนาสารเห็นว่า เงาะต้นนี้ยังไม่มีชื่อพันธุ์ได้ จึงเรียกกันว่า “เงาะพันธุ์โรงเรียน”
พ.ศ. 2502 เริ่มมีการขยายพันธุ์ด้วยการติดตา ทำให้แพร่พันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
พ.ศ. 2505 เงาะต้นแม่พันธุ์ หักโค่น เนื่องมาจากมหาวาตภัยในภาคใต้ ทางโรงเรียนจึงได้ขยายพันธุ์ไว้ 40 ต้น
พ.ศ. 2512 ผู้นำชาวสวนเงาะผู้หนึ่ง ทูลเกล้าถวายผลเงาะโรงเรียนแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เสียใหม่ แต่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ชื่อเงาะพันธุ์โรงเรียนดีอยู่แล้ว” ตั้งแต่นั้นจึงไม่มีใครกล้าเปลี่ยนชื่อเงาะพันธุ์นี้
ลักษณะเด่นๆ ของเงาะพันธุ์โรงเรียนนาสารนี้ ได้แก่
1. เป็นเงาะเฉพาะถิ่น ขยายพันธ์ง่าย แพร่พันธุ์เร็ว ดังนั้นแม้จะนำไปปลูกในถิ่นอื่นได้ แต่รสชาติเงาะจะไม่ดี และเนื้อเงาะไม่กรอบเท่ากับต้นแม่พันธุ์ที่ตำบลนาสาร
2. เป็นเงาะรสดีที่สุด เนื้อกรอบ รสหวานหอม ผลค่อนข้างกลม เมื่อผลสุกปลายขนมีสีเขียว
3. เงาะพันธุ์โรงเรียน มีข้อด้อยประการหนึ่ง คือ เปลือกผลบาง หากมีฝนตกชุกเมืองผลเงาะ โตจะทำให้เปลือกแตก ผลร่วง เสียหาย
4. ลักษณะเด่นของต้นเงาะ คือ ลำต้นไม่สูง ต่างจากเงาะพันธุ์อื่น ทรงพุ่ม โดยปกติจะเตี้ย แผ่ออกทางด้านข้างมาก (ขึ้นอยู่กับวิธีปลูก และการตัดแต่งด้วย) ใบเงาะจะเล็กหนา ปลายค่อนข้างมนก้านใบเห็นเด่นชัด