แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ บ้านเลขที่ 85 หมู่ที่ 7 ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 90220
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผลิตรูปหนังตะลุงควนเนียง
สถานที่ผลิต บ้านเลขที่ 85 หมู่ที่ 7 ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 90220
ประธานกลุ่ม นายสรรเสริญ ศรีทวีกูล
เส้นทางคมนาคม รถโดยสารประจำทาง จากอำเภอหาดใหญ่ถึงอำเภอควนเนียงมีรถโดยสารประจำทางระยะทาง 34 กิโลเมตร จากที่ว่าการอำเภอควนเนียงถึงที่ทำการกลุ่มแกะหนังตะลุงระยะทาง 2 กิโลเมตร
ประวัติความเป็นมา ควนเนียง เป็นชุมชนเก่าจึงเป็นแหล่งกำเนิดศิลปวัฒนธรรมต่างๆที่มี “รากเหง้า”ทั้งในด้านประเพณีและวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดกันมาแต่โบราณ เป็นแหล่งกำเนิดศิลปินด้านมโนราห์และหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก กันอย่างแพร่หลายเช่น หนังพร้อม อัศวิน, หนังหญิงศรีระบาย, หนังอิ่มเท่ง(ศิลปินแห่งชาติ), หนังเอื้อม อ้ายหนูนัด และ หนังสงฟ้า ตะลุงศิลป์ เป็นต้น ศิลปะการแกะสลักรูปหนังตะลุงเกิดขึ้นควบคู่กับการแสดงหนังตะลุงแต่เดิม การแกะรูปหนังจะทำเฉพาะรูปสำหรับเชิดในการเล่นหนังตะลุงเท่านั้น ช่างแกะรูปหนังจึงมีไม่มากนัก ทำกันในวงแคบ และด้วยใจรักหนังตะลุงเป็นหลัก แต่ระยะหลัง คือ ประมาณ 50ปีที่ผ่านมา ได้มีผู้คิดนำเอากระดาษถุงปูนซีเมนต์มาแกะระบายสีเป็นรูปหนังตะลุง ออกจำหน่ายตามตลาดนัด และงานเทศกาลต่าง ๆ ครั้นช่างแกะหนังเห็นว่าขายดีจึงหันมาแกะรูปหนังด้วยหนังจริง ๆ ออกจำหน่ายเป็นเชิงพาณิชย์ ด้านรูปแบบก็ค่อยพัฒนากว้างออก คือแทนที่จะแกะรูปหนังเชิดเพียงอย่างเดียวก็คิดแกะเป็นรูปจับและรูปหนังใหญ่ เพื่อใช้เป็นเครื่องตกแต่งฝาผนัง อาคารบ้านเรือน ยิ่งในช่วงหลัง พ.ศ.2510 รูปหนังสำหรับตกแต่งเป็นที่ต้องการของชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จึงมีผู้หันมาประกอบหัตถกรรม และรูปหนังมากขึ้น ช่างหลายคนได้พัฒนาฝีมือจนผลงานมีคุณค่าสูงส่งทางศิลปะ ภายหลังได้ประดิษฐ์เป็นสินค้าหลายรูปแบบและมีการรวมกลุ่มศิลปินเพื่อฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม การแกะสลักหนังตะลุงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่พยายามถ่ายทอดวิถีชีวิตชุมชนออกมา อย่างลึกซึ้งทำให้คนรุ่นหลังได้รู้จักศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและอนุรักษ์สืบ ทอดให้คงอยู่ต่อไปไม่ให้สูญหาย
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ ลักษณะที่โดดเด่นของแกะสลักหนังตะลุงควนเนียงเป็นประณีตศิลป์วิจิตร ละเอียดอ่อน สวยงามมาก ให้ความรู้สึกทางด้านอารมณ์ หนังวัวยังเป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นที่ให้คุณค่าเชิงอนุรักษ์พื้นบ้านและปรับ ประยุคให้เหมาะสมกับยุคสมัยได้ เป็นงานแกะสลักหนังตะลุงที่จะต้องใช้จินตนาการและใช้สมาธิสูง
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
1.คัดสรร OTOP ปี 2546
2. คัดสรร OTOP ปี 2547
3. โล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประกวดผลิตภัณฑ์ OTOP SONGKLA ปี 2548
4. รางวัลชนะเลิศประกวดผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจังหวัดสงขลางานเกษตรสงขลา ปี 2548
ความสัมพันธ์กับชุมชน ผลผลิตตัวรูปหนังตะลุง เป็นฝีมือของคนในชุมชนโดยถ่ายทอดจากพ่อสู่ลูกจากปู่สู่หลานและจากรุ่นสู่ รุ่น โดยผ่านเยาวชนนำไปสู่กิจกรรมร่วมของคนในครอบครัวโดยธรรมชาติ การแกะหนังตะลุงจึงเป็นกลไกสำคัญของชุมชนในการแก้ปัญหาภัยร้ายและสามารถ สร้างความรักของชุมชนให้เกิดความสัมพันธ์ได้ซึ่งจะทำให้พี่น้องชุมชนต่างจะ ช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแลลูกหลานให้แก่กันและกันอีกด้วย
วัตถุดิบและส่วนประกอบ หนังวัว หนังควาย ที่ฟอกเอง หรือฟอกจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว วัสดุอุปกรณ์ 1.เหล็กขีด 2.เหล็กขุด 3.มุก(ตุ๊ดตู่) 4.เขียงขุด,เขียงตอก 5.ค้อนตอก 6.สีหมึกหรือสีผสมอาหาร 7.น้ำมันชักเงา 8.พู่กัน 9.ทินเนอร์ 10.เชือก 11.ไม้ไผ่ 12.มีด 13.กระดาษทราย
ขั้นตอนการผลิต
1. การเตรียมหนัง (หนังวัวดิบ) นำหนังวัวดิบมาชำระล้างเลือดและสิ่งสกปรกออกให้สะอาดนำไปขึงใส่สะดึงเพื่อ ให้หนังตึงใช้มีดชำแหละพังผืด ไขมัน เศษเนื้อออกจนบางแล้วลาดน้ำส้มสายชูอ่อนๆหากเป็นในอดีตมักใช้กรดส้มจาก ธรรมชาติเช่น ส้ม มะเฟือง มะนาวให้ ผึ่งไว้จนแห้งสนิทจนบางกระทั่งดูโปร่งแสง หากต้องการทำหนังใสจึงค่อยมาขูดขนออกในภายหลัง หรือใช้หนังใสที่ซื้อมาจากโรงงาน
2. นำหนังวัวหรือหนังควายที่ฟอกแล้วมาร่างภาพตามแบบที่ต้องการด้วยเหล็กขีด
3. ใช้ตุ๊ดตู่ (มุก)ขนาดหน้าต่าง ๆและเหล็กขีดฉลุและตอกบนเขียงไม้ตามรอยร่องที่ใช้เหล็กแหลมร่างไว้ส่วน ริมนอกหรือส่วนที่เป็นมุมเป็นเหลี่ยมและกนกลวดลายอันอ่อนช้อย ต้องใช้มีดปลายแหลมขุดแกะ เมื่อทำลวดลายตามที่ร่างไว้เสร็จตัดออกจากแผ่นหนังเรียกว่ารูปหนัง รูปใดนายช่างเห็นว่าได้สัดส่วนสวยงามนายช่างจะเก็บไว้เป็นแม่แบบช่างฉลุจะ ฉลุเป็นตัวโปร่งโดยจะต้องรู้ว่าจะฉลุเส้นอย่างไร จะเว้นช่องว่างอย่างไร จึงจะเกิดช่องไฟที่พอดี มีพื้นหนังทึบสำหรับให้หนังเกาะยึดติดกันอยู่ได้ นอกจากนี้หากเป็นรูปเชิดยังจะต้องทำแขนให้เคลื่อนไหวได้ โดยมีคันไม้เล็กๆ โยงแขนหรือมือให้เคลื่อนไหวออกท่าทางได้ในเวลากระตุก ถ้าเป็นตัวตลก จะมีไม้ชักให้ส่วนปากอ้าพูดได้
4. ทาสีที่ตัวหนังจะมีทั้งหนังทาดำและสีอื่น ๆสีที่ใช้ระบายรูปหรือลงสี นิยมใช้หมึกจีน น้ำหมึกสีย้อมผ้า สีย้อมขนม ระบายสีรูปตามหลักทฤษฎี (สีหลักคือ เขียว แดง ดำ) มีสีสอดแทรกคือ เหลือง แสด ชมพู ม่วง และน้ำเงิน ใช้พู่กันขนาดต่างๆจุ่มสีระบาย ต้องระบายเหมือนกันทั้ง 2 หน้า เมื่อสีแห้งสนิทแล้วลงน้ำมันชักเงา (วานิช) เพื่อให้รูปเกิดเงาวาววับ หากเป็นรูปหนังขน(แผ่นหนังที่ไม่ขูดขนออก)อาจจะไม่ต้องระบายสี แต่นำมาเคลือบเงาเลย
5. ใส่ไม้ตับสำหรับชักรูปเพื่อนำไปแสดงจริงหรือนำไปดัดแปลงประยุกต์เป็น ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น พวงกุญแจ ที่แขวนโทรศัพท์รูปสำหรับเด็กเล่น ใส่กรอบเป็นภาพประดับ
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต หนังวัวที่เหมาะกับการแกะสลักควรเลือกหนังลูกวัวหรือหนังแม่วัวจะได้หนัง ที่บางเหมาะกับการแกะรูปที่มีลายละเอียดเยาะๆ หนังวัวดำขนสั้นถือเป็นหนังที่สวยเหมาะสำหรับการแกะหนังขนภาพประดับ เวลาในการแกะที่เหมาะสมต้องดูสภาพภูมิอากาศด้วยไม่แกะสลักในเวลาเที่ยงเพราะ อากาศร้อนทำให้หนังแข็งแกะยากแต่ควรแกะสลักในเวลาตอนเช้า ตอนเย็น หรือตอนค่ำ