สถานที่ผลิต 34 หมู่ที่ 7 ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ่อใหม่
สถานที่ผลิต 34 หมู่ที่ 7 ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ประธานกลุ่ม นางเสริญศิริ หนูเพชร
ประวัติความเป็นมา อำเภอสทิงพระ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสงขลาที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นศูนย์กลางของเมืองสงขลาในอดีตมีความเจริญทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นประกอบกับลักษณะทางกายภาพทางสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติอันหลากหลาย โดดเด่น ได้แก่ พื้นที่ริมทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่สุดของประเทศไทย พื้นที่ชายทะเล และอื่น ๆโดยมีอาชีพเสริมที่สำคัญ คือ การทำผลิตภัณฑ์จากตาลโตนดซึ่งสืบเนื่องมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านโดยการนำเอาทุกส่วนของตาลโตนดมาใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน เพื่อทดแทนวัสดุอื่นซึ่งหายาก สืบเนื่องมาจากความไม่สะดวกในการคมนาคมเช่นใช้ใบตาลโตนดหรือใยตาลโตนดมา จักสานเป็นเครื่องใช้
ปี พ.ศ. 2527 สอ. สุทิน หนูเพชร ซึ่งเป็นชาวตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระจังหวัดสงขลา ได้นำเส้นใยตาลโตนด มาจักสานและถักทอเป็นงานหัตกรรม เช่น หมวก กล่องทิชชู กระเป๋า ได้ทำการเผยแพร่ความรู้ในด้านนี้ให้กับสมาชิกในชุมชนอำเภอสทิงพระและอำเภอ ใกล้เคียง จนหัตถกรรมด้านนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายออกไป แต่เนื่องในช่วงนั้น การพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการผลิตทำให้การผลิตสินค้าได้ล่าช้าไม่ทันต่อความต้องการ สินค้ามีราคาสูง ไม่มีการวางแผนด้านการตลาด ทำให้สมาชิกมีรายได้น้อยประกอบกับในช่วงนั้นได้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ในตัว จังหวัดสงขลา สมาชิกในกลุ่มหันไปใช้แรงงานในโรงงานมากขึ้นเพราะมีรายได้ดีกว่า จึงทำให้กลุ่มฯของสอ. สุทินฯหยุดดำเนินการ ปี 2544 นางเสริญศิริ หนูเพชร ได้เริ่มนำใยตาลโตนดมาทำเป็นงานหัตกรรมอีกครั้งหนึ่งโดยทำอยู่ที่บ้าน เมื่อผลิตได้มากขึ้นสามารถนำออกจำหน่ายได้จนเป็นที่นิยมซึ่งประกอบกับช่วง นั้นรัฐบาลกำลังส่งเสริมสินค้าที่เป็นงานด้านหัตกรรมมากขึ้น นางเสริญศิริฯ จึงได้ชักชวนชาวบ้าน ร่วมกันผลิต สมาชิกเริ่มแรก ประมาณ 4-5 คน สามารถร่วมกันผลิต ชิ้นงาน หัตถกรรมใหม่ออกมาจนเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมจากจากผู้บริโภค
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
- เอกลักษณ์ของเส้นใยตาลโตนด คือ มีความเหนียว สีของเส้นใยไม่เปลี่ยนแปลง มีลวดลาดลายไม่เหมือนเส้นใยประเภทอื่น สะท้อนถึงความเป็นชุมชนของชาวอำเภอสทิงพระ ที่มีความผูกพับกันต้นตาลโตนด
- ตำนานของผลิตภัณฑ์เป็นการนำเอาส่วนหนึ่งของต้นตาลโตนดที่ถือได้ว่ามีมากที่ สุดในประเทศไทย มาเพิ่มมูลค่า ดังคำขวัญของอำเภอสทิงพระ “เมืองเก่าสองทะเล มนต์เสน่ห์นกน้ำ ผลิตผลต้นตาล งามหาดมหาราช พระไสยาสน์ค่าล้น ตำนานหลวงปู่ทวด”
- ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยตาลโตนด เป็นการสะท้อนภูมิปัญญาในด้านการนำเอาทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เพิ่มมูลค่าด้วยการนำมาจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
1. ผลิตภัณฑ์เด่น จังหวัดสงขลา ปี 2549
2. OTOP คัดสรร 4 ดาว ปี 2549
3. มผช. 186/2546
ความสัมพันธ์กับชุมชน ฝีมือ/แรงงาน/วัตถุดิบคือ ทรัพยากรในการผลิต ที่มีอยู่ในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง ทั้งนี้ในการนำเส้นใยตาลโตนดมาผลิต เป็นผลิตภัณฑ์นั้น ไม่ได้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. เส้นใยตาลโตนด
2. แบบหุ่น/อุปกรณ์ในการขึ้นรูป เช่น กรรไกร มีดเข็มโครเชท์สำหรับใช้ในการจักสานทำ
3. ด้วยมือ
4. กี่ทอใยตาล
5. วัสดุอุปกรณ์ ต่าง ๆ เช่น แลกเกอร์,หนัง,ไม้ตาลโตนด
ขั้นตอนการผลิต
1. นำกาบตาลมาทุบเพื่อเอาเส้นใยตาลโตนด
2. ฟอกสี หรือย้อมสีตามความต้องการ
3. นำมาถัก หรือทอ ขึ้นรูป ตามแบบที่ต้องการ
4. ทาแลคเกอร์ เพิ่มความสวยงามให้กับผลิตภัณฑ์
5. ตกแต่งส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ ริบบิ้น
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
- ทุกกระบวนการในการผลิต จะต้องมีความละเอียด ปราณีต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ ดูดี สวยงาม มีความเป็นเอกลักษณ์
- พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและตรงกับความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ่อใหม่ บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ 7ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โทร. 086-741-1667
- กลุ่มหัตถกรรมใยตาลโตนดบ้านชะแม บ้านเลขที่ 38 หมู่ที่ 6 ตำบลดีหลวงอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โทร.0-7486-073
- กลุ่มหัตถกรรมใยตาลสทิงพระ บ้านเลขที่ 54 หมู่ที่ 4 ตำบลจะทิ้งพระอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โทร. 081-609-2863