ประเพณีแห่จาดสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่บรรพบุรุษไทย นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมากำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยผ่านกระบวนการทางศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีแห่จาดสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่บรรพบุรุษไทย นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมากำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยผ่านกระบวนการทางศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี เกิดความผูกพัน เชื่อมโยงคนในชุมชนให้เป็นกลุ่มชนเดี่ยวกัน สังคมชาวไทยในภาคใต้ บรรพบุรุษได้เชื่อมโยงศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมเป็นแนวทางปฏิบัติไว้หลากหลาย และหนึ่งในประเพณีเหล่านั้น คือ ประเพณีแห่จาดสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนทำความดี มีศีลธรรม เกรงกลัวการกระทำผิด เชื่อถือว่าการกระทำที่ผิดจารีต ประเพณี ศีลธรรมเป็นบาป และอาจต้องได้รับผลบาปตาม วิถีกรรมที่กระทำไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้คนเกิดความรักในบรรพบุรุษ ให้ระลึกถึงคุณความดีที่บรรพบุรุษได้กระทำมาแก่ชนรุ่นหลัง ดังนั้นในเทศกาลนี้ คนไทยในภาคใต้ ไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งหนตำบลใด ต่างก็พากันกลับมายังภูมิลำเนาของตนเอง เพื่อร่วมประเพณีแห่จาดสารทเดือนสิบเป็นประจำทุกปี