แสกเต้นสาก เป็นการบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษของชาวแสกในจังหวัดนครพนม และเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ได้ช่วยให้อยู่เย็นเป็นสุขและประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ
แสกเต้นสาก เป็นการบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษของชาวแสกในจังหวัดนครพนม และเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ได้ช่วยให้อยู่เย็นเป็นสุขและประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ
การแสดงแสกเต้นสากจะไม่แสดงบ่อยนัก ตามประเพณีชาวแสกจะแสดงการเต้นสากในวันขึ้น 2-3 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับประเพณี “กิน เตรท” หรือ “วันตรุษญวน” ในวันนี้ ชาวแสกทั้งหมดจะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวปลาอาหารไปพร้อมกันที่ศาลเจ้าที่ชาวแสกเรียกว่า “ศาลองมู่” ซึ่ง “องมู่” นี้ เป็นบรรพบุรุษที่ชาวแสกเคารพนับถือมาก จะทำกิจกรรมใดก็มักจะไปบนบานศาลกล่าวเสมอและว่ากันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก
พิธีกรรม ชาวแสกในหมู่บ้านอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จะนำดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวปลาอาหาร หัวหมู เหล้าขาว น้ำอัดลม ฯลฯ ไปพร้อมกันที่ “ศาลองมู่” ที่ชาวแสกเคารพนับถือ เมื่อทำพิธีถวายอาหารเครื่องดื่มแล้วก็จะมีประเพณีแสกเต้นสาก โดยให้ชาวแสกชายหญิงประมาณ 10 คู่ ออกมาเต้นสาก เป็นการบวงสรวงองมู่ด้วย
เมื่อชาวแสกนำข้าวปลาอาหารทยอยกันไปที่ “ศาลองมู่” ศาลนี้จะตั้งอยู่ทางตะวันออกติดริมฝั่งโขง ลักษณะเหมือนศาลพระภูมิทั่วๆ ไป มีไฟประดับให้สวยงามในวันงาน รอบๆ ศาลจะมีไม้ทำเป็นดาบทาสีอยู่รอบศาล สันนิษฐานว่า แสดงถึงความสามารถในด้านการต่อสู้ ซึ่งสามารถนำประชาชนพรรคพวกของตนมาหาชัยภูมิอันเหมาะสมได้ หลังจากนั้นก็จะมีพิธีบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรา ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3
สำรับที่ใช้สำหรับถวายองมู่ ได้แก่ เหล้า โรงอาหารคาวหวาน ดอกไม้ ธูปเทียน หากชาวแสกจะจัดพิธีใดขึ้นต้องบอกกล่าวแก่องมู่ก่อน เชื่อกันว่าหากไม่บอกกล่าวให้องมู่ทราบก่อน ชาวแสกผู้นั้นจะต้องมีอันเป็นไป พอชาวแสกมาพร้อมกันแล้ว “หมอเยา” หรือ “หมอเหยา” จะทำพิธีบวงสรวงโดยการจุดธูปเทียน เทเหล้าใส่จอก และเชิญ “องมู่” มารับของที่นำมาบวงสรวงเป็นภาษาแสก
ต่อจากนั้นก็เป็นพิธีโยนเหรียญ ซึ่งลักษณะเหรียญจะเป็นเหรียญแบบโบราณหรือสตางค์แดงทาสีขาวด้านเดียว จำนวนสองเหรียญ หมอเทยา หรือหมอเยา จะโยนเหรียญแบบโบราณหรือสตางค์แดงขึ้น เพื่อเสียงทายว่าที่จัดพิธีในวันนี้ขึ้น ขออนุญาตถ่ายรูปจะได้ไหม และพอใจกับการกระทำนี้ไหม แล้วก็โยนเหรียญลงกับพื้น หากเหรียญตกลงหงายด้านเดียวกัน สีขาวเหมือนกันหรือดำเหมือนกันแสดงว่าไม่พอใจ ถ้าหากเหรียญสองเหรียญต่างกัน แสดงว่าอนุญาตหรือพอใจ ถ้าหากเหรียญเหมือนกันคือไม่พอใจ ต้องทำพิธีใหม่และเสี่ยงทายกันอีกครั้งจนกว่าจะพอใจ
การแสดงเต้นสากของชาวแสก หลังจากเสร็จพิธีบวงสรวงองมู่แล้ว ชาวแสกก็จะนำสากตำข้าว (สมัยโบราณ) ลักษณะคอดตรงกลาง ปัจจุบันเป็นแบบตรง วางบนไม้แท่นแล้วกระทบกันให้เป็นจังหวะที่ไม้กางออกซึ่งจะมีอยู่ประมาณ 10-20 คู่ มาเต้นบวงสรวง การแสดงเต้นสากนี้จะเผยแพร่ให้ผู้อื่นที่มิใช่ชาวแสกไม่ได้เด็ดขาด หากผู้ใดสนใจและศึกษาค้นคว้า ก็ต้องขออนุญาตจากองมู่ก่อน
การแสดงเต้นสากโชว์ หรือ พิธีสำคัญๆ ชาวแสกจะแต่งกาย ดังนี้
- เสื้อ แขนกระบอกสีดำ
- ผ้าถุง ผ้าถุงยาวกรอมเท้า
- ผ้าคาดเอวหรือเข็มขัด ทำด้วยผ้าตีนจก
- สไบ ห่มสไบสีแดงทับ
- เครื่องประดับ สร้อย ต่างหู เท่าที่หาได้
- เครื่องดนตรีประกอบการละเล่น
เครื่องดนตรีที่ใช้ในการเต้นสากจะมีไม่กี่ชนิด เช่น กลอง ฉิ่ง ฉาบ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้การเต้นสากจึงไม่ค่อยมีผู้นิยมมากนัก