งานแข่งเรือประเพณีจังหวัดน่าน "ชิงถ้วยพระราชทานฯ" ปลอดเหล้า - เบียร์ ประจำปี 2555 (นัดเปิดสนาม) สถานที่จัดงานบริเวณแม่น้ำน่าน จังหวัดน่าน (เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ)
งานแข่งเรือประเพณีจังหวัดน่าน "ชิงถ้วยพระราชทานฯ" ปลอดเหล้า - เบียร์ ประจำปี 2555 (นัดเปิดสนาม) สถานที่จัดงานบริเวณแม่น้ำน่าน จังหวัดน่าน (เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ)
ประเพณีแข่งเรือเป็นประเพณีที่สืบทอด กันมานานต่อมาใน พ.ศ. 2479 ได้จัดให้มีการแข่งเรือทอดกฐินสามัคคี สืบทอดมาจนถึงงานทอดกฐินพระราชทานในปัจจุบัน ราวกลางเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยถือเอาวันเปิดสนามแข่งเรือตามวันถวายสลากภัต ของวัดช้างค่ำวรวิหารซึ่งเป็นวัดหลวง จะจัดงานวายภัตก่อน งานแข่งเรือประเพณีจังหวัดน่านจึงเป็นประเพณีคู่กับตานก๋วยสลากของวัดช้างค่ำมาจนถึงทุกวันนี้ ภายหลังทางจังหวัดได้ผนวกงานสมโภชงาช้างดำ อันเป็นสมบัติล่ำค่าคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่านเข้าไปด้วย นอกจากนั้นยังมีงานแข่งเรือที่อำเภอเวียงสาในเทศกาลตานก๋วยสลาก
เรือที่เข้าแข่งแต่ละลำใช้ไม้ซุงใหญ่ ๆ เอามาขุดเป็นเรือ เอกลักษณ์โดดเด่นของเรือแข่งเมืองน่าน คือ ที่หัวเรือแกะเป็นรูปพญานาคชูคอสง่างามหางเรือเป็นหางพญานาคงอนสูง ด้วยคนเมืองน่านเชื่อว่าบรรพบุรุษของตน คือ เจ้าขุนนุ่น ขุนฟอง เกิดจากไข่พญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ การต่อเรือแข่งเป็นรูปพญานาคจึงถือเป็นการบูชาบุญคุณพญานาคผู้เป็นเจ้าแห่งน้ำและบรรพบุรุษของชาวเมืองน่าน
ประเภทการแข่งขัน มีทั้งเรือใหญ่ เรือกลาง และเรือเล็ก รวมทั้งประเภทสวยงาม นอกจากนี้ ยังมีการประกวดกองเชียร์อีกด้วยและหากมาช่วงซ้อมก่อนการแข่งขัน ตอนเย็น ๆ จะเห็นชาวบ้าน นักเรียนจับกลุ่มอยู่ริมน้ำเพื่อมาดูการซ้อมเรือ เชียร์ทีมเรือและฝีพายที่เป็นคนท้องถิ่นเป็นวิถีชีวิตที่มีสีสัน และเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ นับเป็นประเพณีที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
- ประเภทเรือใหญ่ ฝีพายตั้งแต่ 48 – 55 คน (สำรองจำนวน 15 คน) ยกเว้นเรือเลิศเกียรติศักดิ์ ศรีพันต้น
- ประเภทเรือกลาง ฝีพายตั้งแต่ 35 – 40 คน (สำรองจำนวน 15 คน)
- ประเภทเรือเล็ก ฝีพายตั้งแต่ 25 – 30 คน (สำรองจำนวน 10 คน)
- จำกัดให้ชุมชนหรือหมู่บ้านต่าง ๆ สามารถส่งเรือเข้าร่วมการแข่งขันได้จำนวน 2 ลำ และสามารถใช้ฝีพายลงทำการแข่งขันได้ทั้ง 2 ลำ เฉพาะหมู่บ้านของตนเองเท่านั้น
- เรือที่สมัครเข้าแข่งขันจะต้องมีความพร้อมกรณีมีการ Bye จะต้องแจ้งให้คณะกรรมการ พร้อมกับลงลายมือชื่อในหนังสือยินยอมฯ ทุกครั้ง และเรือที่ได้สิทธิ์ Bye แล้ว ห้ามพายลงมาลำเดียวโดยเด็ดขาด
- หมู่บ้านต่าง ๆ ที่ทำการซ่อมบำรุงเรือที่ทำให้รูปลักษณ์เรือเปลี่ยนไป หรือซื้อเรือใหม่จะต้องแจ้งหรือขอจดทะเบียนเรือ ต่อเจ้าหน้าที่กองการศึกษา ภายในวันที่กำหนด ณ กองการศึกษา เทศบาลเมืองน่านเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ลงทำการแข่งขันได้ และหลังจากนี้แล้วไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้