งานตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ได้มีการปฏิบัติสืบต่อกัน มาจนถึงรุ่นคุณปู่-ย่า, ตา-ยาย, พ่อ-แม่ และลูกหลานในปัจจุบัน ตานก๋วยสลาก, ตานสลาก, กิ๋นข้าวสลาก, กิ๋นก๋วยสลาก หรือกิ๋นสลาก ล้วนแล้วแต่ เป็นภาษาของชาวถิ่นล้านนา
สถานที่จัดงาน ณ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร อำเภอเมืองแพร่ จัดขึ้นราวเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี
งานตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ได้มีการปฏิบัติสืบต่อกัน มาจนถึงรุ่นคุณปู่-ย่า, ตา-ยาย, พ่อ-แม่ และลูกหลานในปัจจุบัน ตานก๋วยสลาก, ตานสลาก, กิ๋นข้าวสลาก, กิ๋นก๋วยสลาก หรือกิ๋นสลาก ล้วนแล้วแต่ เป็นภาษาของชาวถิ่นล้านนา ซึ่งมักมีการเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ความหมายนั้นเหมือนกันโดยหลักการ อาจจะแตกต่างกันบ้างในเรื่องของราย ละเอียดถ้าเป็นภาษาไทยกลางเรียกว่า "สลากภัต" ประเพณี "ตานก๋วยสลาก"หรือ"สลากภัต" ของชาวล้านนามักนิยมปฏิบัติกันตั้งแต่ เดือน 12 เหนือ ถึงเดือนยี่เหนือหรือตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี
สาเหตุที่ถือปฏิบัติกันเช่นนี้ก็เพราะว่า เป็นช่วงที่ชาวบ้านได้ทำนากันเสร็จแล้ว หยุดพักผ่อน พระสงฆ์ก็จำพรรษาอยู่วัด ไม่ได้ไปไหนและบวกกับในช่วงเวลานี้ก็มี ผลไม้สุก เช่น ลำไย มะไฟ สมโอ เป็นต้นเมื่อต้นข้าวในนาเริ่มเขียวขจี ชาวนาที่มี ฐานะไม่ค่อยดี การดำรงชีวิตก็เริ่มขัดสน เมื่อข้าวในยุ้งก็หมดก่อนฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะมาถึง
ดังนั้นการตานก๋วยสลากในช่วงนี้ จึงเท่ากับว่าได้สงเคราะห์คนยากคนจน เป็นสังฆทาน ได้กุศลแรง ก่อนจะถึงวันตานก๋วยสลาก 1 วันเขาเรียก "วันดา" หรือ "วันสุกดิบ" วันนี้จะเป็นวัน ที่ชาวบ้านได้จัดเตรียมข้าวของ ไม่ว่าจะเป็นของกินหรือของใช้ต่าง ๆ สำหรับที่จะ นำมาจัดดาใส่ก๋วยสลากและวันนี้มักจะมีญาติสนิทมิตรสหายที่อยู่ต่างบ้านมา ร่วม จัดดาสลากด้วย ซึ่งถือเป็นประเพณีที่จะได้ทำบุญร่วมกัน ผู้ชายจะเป็นคนสานก๋วยสลาก (ตะกร้า) สำหรับที่จะบรรจุใส่ของกินของใช้ต่างๆ ก๋วยจะกรุด้วยใบตองหรือกระดาษก็ได้ เมื่อรวบปากก๋วยมัดเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ จะมีไม้ไผ่เหลาเป็นเส้นเล็กๆ สำหรับเสียบเงินที่เป็นธนบัตร เพื่อทำเป็นยอดก๋วยสลาก จะมากน้อยบ้างตามแก่กำลังศรัทธาและฐานะ